มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า วันนี้ จะพาไปดูหุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) ที่มีหลายเหตุการณ์เข้ามากระทบ โดยเฉพาะ เหตุระเบิดคลังน้ำมันขนาดใหญ่ในซาอุดิอาระเบีย น้ำมันดิบพุ่งปรี๊ด ช่วงแรก แล้วเริ่มชลอหลังมีข่าวจะเร่งคืนกำลังผลิต ดั๊นเลยจะไปเช็ค 20 หุ้นบิ๊กแคป กลุ่ม ENERG เทียบกับก่อนเกิดเหตุที่ซาอุ จนถึงปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้ว (13 ก.ย.- 20ก.ย.)

และมีเพียง 4 ตัวเท่านั้นที่ราคาปรับขึ้น ส่วนอีก16 ตัว ย่อยวบเลยคะ ตัวที่ย่อลึกสุดคือ PTG -12.92%

1.PTT (บมจ.ปตท.) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) 45.50 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) ปิดที่ 47.00 บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) 45.50 บาท (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง)

2.PTTEP (บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 122.50 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยู่ที่ 125.00 บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.62) อยู่ที่ 123.50 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯมา 1.00 บาทหรือ 0.81%

3.GULF (บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 149.00 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยู่ที่ 156.50 บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 153.00 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ 4.00 บาทหรือ 2.68%

4.EA (บมจ.พลังงานบริสุทธิ์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 50.50 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 50.00 บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 48.50 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -2.00 บาทหรือ -3.96%

5.EGCO (บมจ.ผลิตไฟฟ้า) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 348.00 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยู่ที่ 353.00บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.) อยู่ที่ 343.00 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -5.00 บาทหรือ -1.43%

6.TOP (บมจ.ไทยออยล์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 70.75 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยู่ที่ 71.00บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.) อยู่ที่ 68.50 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -2.25 บาท หรือ-3.18%

7.BGRIM (บมจ.บี.กริม เพาเวอร์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 40.50 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยู่ที่ 41.25 บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.62) อยู่ที่ 41.00 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ 0.50 บาท หรือ 1.23%

8.RATCH (บมจ.ราช กรุ๊ป) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 72.50 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 73.25 บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.62) อยู่ที่ 70.75 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -1.75 บาท หรือ -2.41%

9.GPSC (บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่) ก่อนเกิดเหตุ (13ก.ย.62) ปิดที่ 71.00 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 71.00 บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.62) อยู่ที่ 69.00 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -2.00 บาท หรือ-2.81%

10.IRPC (บมจ.ไออาร์พีซี) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 4.08 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 4.02บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.62) อยู่ที่ 3.66 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.42 บาท หรือ -10.44%

11.BANPU (บมจ.บ้านปู) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 12.70 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 12.40 บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.62 ) อยู่ที่ 11.70 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -1.00 บาท หรือ -7.80%

12.BPP (บมจ.บ้านปู เพาเวอร์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 19.67 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 19.92บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 19.20 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.47 บาท หรือ-2.44%

13.TTW (บมจ.ทีทีดับบลิว) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 13.50 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 13.50บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 13.80 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ 0.30 บาท หรือ 2.22%

14.CKP (บมจ.ซีเค พาวเวอร์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย. 62) อยู่ที่ 6.10 บาท จากนั้นราคาตันสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 6.05บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 5.65 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.45 บาท หรือ -7.37%

15.TPIPP (บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 5.30 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 5.25บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 4.84 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.46 บาท หรือ -8.67%

16.SPRC (บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 9.80 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 9.85 บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 9.75 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.50 บาท หรือ-5.10%

17.BCP (บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 27.25 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 28.25 บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 27.25บาท (ไม่มีการเปลี่ยนแปลง)

18.BCPG (บมจ.บีซีพีจี) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 19.20 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์ (16 ก.ย.62) อยู่ที่ 18.80บาท และปลายสัปดาห์ (20ก.ย.) อยู่ที่18.60 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.60 บาท หรือ-3.12%

19.ESSO (บมจ.เอสโซ่) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 8.80 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยูที่ 8.90บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 8.50 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -0.30 บาท หรือ -3.40%

20.PTG (บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี) ก่อนเกิดเหตุ (13 ก.ย.62) ปิดที่ 20.10 บาท จากนั้นราคาต้นสัปดาห์(16 ก.ย.62) อยู่ที่ 18.16 บาท และปลายสัปดาห์ (20 ก.ย.62) อยู่ที่ 17.50 บาท ลดลงจากช่วงเกิดบึ้มซาอุฯ -2.60 บาท หรือ-12.92%

อย่างไรก็ตามเรื่องของ “น้ำมัน” ขอยกคำว่า “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” เขียนบทความไว้ว่า กลุ่มแรกก็คือหุ้นผู้ผลิตหรือค้นหาน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติซึ่งอิงอยู่กับราคาน้ำมันซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ถูกกระทบโดยตรงที่สุด โดยหุ้นที่โดดเด่นที่สุดก็คือหุ้น ปตท.สผ. ที่จะได้ประโยชน์ชัดเจนเวลาราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น เพราะผลผลิตที่ได้นั้นมีต้นทุนเท่าเดิมในขณะที่ราคาขายปรับตัวขึ้นมาก ผลก็คือกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น

ในทางตรงกันข้าม ถ้าราคาน้ำมันลดลง กำไรก็จะลดลง การที่จะ “เล่นหุ้น” แบบนี้ก็จะต้องดูว่าทิศทางของราคาน้ำมันจะไปทางไหนประกอบกับราคาของหุ้นในขณะนั้น การเข้าไปซื้อหุ้นในยามที่ราคาน้ำมันขึ้นไปสูงแล้วอาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดี

เพราะหลังจากนั้นราคาน้ำมันอาจจะลดลง วิธีที่อาจจะดีกว่าก็คือซื้อเมื่อราคาน้ำมันตกต่ำมานานแล้ว “รอ” และขายเมื่อราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นสูง..(อ้างอิง bangkokbiznews 29 พ.ค.61 )

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERG) นั้น มีปัจจัยมากมาย เวียนหัว เล่นยาก จับทางลำลากคะ ค่อยๆศึกษาไปนะคะ วันนี้ไปละคะ บ๊ายย

Facebook Comments