กองทุนรวม

มาแล้วค่ะวันนี้อิป้า จะมาเหลาเรื่อง การลงทุน แบบมือใหม่ ที่มักจะเกิดคำถามว่า มีเงินไม่มาก ควรเริ่มต้นลงทุนแบบไหนดี ? มีหลากหลายคำตอบนะค่ะ แต่ตามตำรา หวยมักจะไปออกที่ กองทุนรวม ค่ะ ซึ่งตามหลักการแล้ว กองทุนที่กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย (หุ้นตราสารหนี้) โอกาสที่สินทรัพย์ทุกตัวจะร่วงพร้อมๆ กันนั้นค่อนข้างยากค่ะ

และเมื่อเราเลือกทางนี้แล้ว ก่อนที่จะตัดสินใจลุย เลือก กองทุนรวม ไหน นั้น มีสิ่งที่ต้องศึกษาให้รอบละเอียด 5 ข้อด้วยกันค่ะ

1.นโยบายลงทุนและเงื่อนไข …กองทุนทุกวันนี้มีหลากหลายค่ะ ทั้ง กองทุนหุ้นขนาดใหญ่/กองทุนหุ้นขนาดกลาง-เล็ก/กองทุนหุ้นตามแต่ละหมวด/กองทุนหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ/กองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นปันผล/กองทุนรวมดัชนี/กองทุนหุ้นต่างประเทศ …อันนี้คือเราต้องเข้าไปทำความรู้จักว่ากองทุนที่เราสนใจนั้น มีนโยบายการลงทุนในสินทรัพย์ใด ลงทุนอย่างไรบ้าง

รวมไปถึงบริหารจัดการแบบไหน ความเสี่ยงระดับใด มีสภาพคล่องหรือไม่ เพราะบางกองทุนซื้อขายได้ทุกวัน แต่บางกองทุนซื้อจนกว่าจะครบกำหนดถึงขายได้ รวมไปถึงเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละกองทุน สิ่งเหล่านี้ เราหาได้จาก “หนังสือชี้ชวน” ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะเตรียมเอาไว้ให้นักลงทุนศึกษารายละเอียดของกองทุน นั้นเองค่ะ

2 ผลตอบแทน…มี 2 แบบ คือ กำไรจากการดำเนินงาน และเงินปันผล นั้นหมายความว่าเราต้องถามใจว่าเราต้องการผลตอบแทนแบบไหน จะได้ไปดูว่ากองทุนไหน ตอบสนองความต้องการเราได้ไงค่ะ ซึ่งถ้าเราอยากได้ในส่วนของกำไรจากการดำเนินงาน เราก็ต้องดูว่า กองทุนนั้นผลงานเจ๋งแค่ไหนค่ะ ซึ่งใช้การเปรียบเทียบค่ะ

เปรียบเทียบกับดัชนีมาตรฐาน (Benchmark) ของกองทุนนั้นว่า ทำได้ดีกว่าหรือแย่กว่า เช่น กองทุนหุ้นไทย ก็จะใช้ดัชนีหุ้นไทยเป็นตัวเปรียบเทียบ ถ้ากองทุนไหนทำกำไรได้ดีกว่าก็ถือว่าใช้ได้ หรือเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกัน หรือจะเปรียบเทียบกับผลงานในอดีตของกองทุนเอง (หาข้อมูลจากwww.morningstarthailand.com และ www.aimc.or.th)

3. ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนในกองทุนรวม มี 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่1. ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากกองทุน คือค่าบริหารจัดการกองทุน หรือค่าจ้างผู้จัดการกองทุนและ2ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากนักลงทุน คือ ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย สับเปลี่ยน หรือโอนย้ายไป บลจ.อื่น ๆ

ซึ่งตรงนี้เราอาจจะต้องเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมของกองทุนรวม ที่เราปิ๊งกับกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนคล้ายกัน นอกจากต้องหมั้นเช็ค แล้วไป ซื้อกองทุนรวม IPO หรือกองทุนรวมที่เปิดตัวใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะลดค่าธรรมเนียม เพื่อจูงใจนั้นเองค่ะ

4. เวลาที่เหมาะสมในการเข้าซื้อ…หมายถึงเราต้องจับจังหวะให้ดี การเข้าซื้อกองทุนหุ้นในช่วงที่หุ้นราคาตกก็ย่อมทำให้เราได้ต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่ถ้าจะให้เพลย์เซฟสุด ให้ใช้วิธี DCA (Dollar Cost Averaging) หรือการซื้อถัวเฉลี่ย เช่น แบ่งเงินซื้อกองทุน LTF/RMF ทุกเดือนตลอดทั้งปี เพื่อทำให้ได้กองทุนในราคาเฉลี่ยนั่นเองค่ะ

5.ก่อนจะตัดสินใจขั้นสุดท้าย สัจธรรมที่ต้องรู้นะค่ะ “ผลตอบแทนสูงที่สุด แต่ความเสี่ยงน้อยที่สุด ” ไม่มีในโลกนี้นะค่ะ ฉะนั้น สิ่งที่ถามมาร์เก็ตติ้งที่ปรึกษาการลงทุน นอกจาก “จะมีกำไรเท่าไร เมื่อไร” แล้วยังต้องถามว่า “มีโอกาสขาดทุนแค่ไหน มากขนาดไหน และควรถือนานแค่ไหน” อีกด้วยนะค่ะ

สุดท้ายแล้ว อยากให้ นักลงทุน ทุกราย ได้สมตามใจปราถนานะค่ะ…ไปละ บ๊ายย
——————————-

ติดตามที่ :

#หุ้น #กองทุนรวม #fund #set #Mutualfund #epahamalao #อิป้าหามาเล่า #ตลาดหุ้น #ตลาดหุ้นไทย #mai #ลงทุน #ออมเงิน

Facebook Comments