มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า วันนี้จะมาเล่าเรื่องของ DTAC (บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น) ที่วันนี้ (23 มิ.ย.63) ก้าวขึ้นสู่ปีที่ 14 ในวงการตลาดหุ้นไทยแล้ว ไปดู 7 เรื่องสนุก ๆ ของหุ้นสื่อสารตัวนี้กันเลยค่ะ

1.ลุยในตลาดหุ้นสิงคโปร์

DTAC คือบริษัทผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมด้านสัญญาณโทรศัพท์มือถือ 1 ใน 3 ของค่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2538 DTAC นำหุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายและกระจายในตลาดหุ้นสิงคโปร์ หรือ (SGX-ST) โดยใช้ชื่อ TAC ภายใต้กลุ่ม TSC หรือ Transport, Storage & Communication จำนวนทั้งสิ้น 15 เปอร์เซ็นต์ของ Market cap ทั้งหมดของดีแทค หลังจากผิดหวังในการนำบริษัทเข้า SET อันเนื่องมาจากความซ้ำซ้อนของลักษณะธุรกิจ ซึ่ง ณ ขณะนั้นยูคอม (บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) : UCOM) ได้เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ไปแล้ว และรายได้ของยูคอมส่วนใหญ่ก็ยังมาจากดีแทค ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มเครือเดียวกัน (อ้างอิง gotomanager)

2 แต่งตัวเข้าตลาด SET

กระบวนการของการเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เริ่มจากการที่ดีแทคมีสิทธิ์ยื่นขอเข้า SET ในทันที โดยจะทำการแตกมูลค่าที่ตราไว้ของ บริษัทฯ ตามอัตราส่วน 1 ต่อ 5 หลังจากนั้นจะเสนอขายหุ้นเป็นจำนวน 222 ล้านหุ้น และก่อให้เกิดการระดมทุนสำหรับการลงทุนด้านสถานีข่ายของดีแทคในปีถัดไปทั้งสิ้น 7,500 ล้านบาท จากนั้นดีแทคก็จะมีสิทธิ์ที่จะถอด หุ้นของยูคอมออกจากกระดานเขียวแดงของ SET ได้ เพื่อให้การทับซ้อนนั้นหายไป

เป็นที่มาของการเสนอ tender offer แก่ผู้ถือหุ้นยูคอม โดยการนำเสนอขายหุ้นของดีแทคจะทำให้ผู้ถือหุ้นยูคอมสามารถนำหุ้นที่มีอยู่มาแลกเป็นหุ้นดีแทคได้ โดยหุ้นยูคอม 100 หุ้นจะสามารถแลกเป็นหุ้นดีแทคได้ประมาณ 39 หุ้น ณ ราคาพาร์เมื่อแลกเปลี่ยนหุ้นเป็นที่เรียบร้อย ผู้ถือหุ้นยูคอมจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นดีแทค ดีแทคจะสามารถถอนยูคอมออกจากตลาดในทันที และมีสถานะเป็นเพียงบริษัทลูกของ ดีแทคเพียงเท่านั้น…(อ้างอิง gotomanager)

DTAC เข้าตลาดฯ วันที่ 22 มิ.ย. 2550 ด้วย ราคา IPO 40บาท @พาร์ 2.00 บาท ราคาวันแรก เปิดการซื้อขายที่ 42.50 บาท สูงกว่าราคาจองที่ 40 บาท กว่า 2.50 บาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 6.25 % ระหว่างวันราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 43.50 บาท ต่ำสุด 41.75 บาท ก่อนจะปิดที่ 41.75 บาท สูงกว่าราคาจอง 1.75 บาท หรือเพิ่มขึ้น 4.38% มูลค่าการซื้อขายรวม 2,703.95 ล้านบาท

หนังสืออิป้าหามาเล่า3.จดทะเบียนอยู่ใน 2 ตลาดหลักทรัพย์ (Dual listing)

นายวิกรานต์ ปวโรจน์กิจ กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของ DTAC ให้ข้อมูลไว้ว่า เป็นการช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้น ภายหลังจากที่มีฐานนักลงทุนและข่าวสารการวิเคราะห์ของบริษัทเพิ่มมากขึ้นแล้ว นั่นย่อมทำให้เกิดความเข้าใจในพื้นฐานของบริษัทเป็นอย่างนี้ ซึ่งถือว่าเป็นช่องทางในการเข้ามาลงทุน ซึ่งทำให้สภาพคล่องดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด “ประเด็นการเข้ามาเทรดหุ้นสองตลาดของ DTAC ก็การแก้ปัญหาสภาพคล่อง เนื่องจากนักลงทุนสิงคโปร์ไม่ค่อยรู้จักสินค้าของบริษัทว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก็เหมือนนักลงทุนไทยที่ไม่รู้จักหุ้นสิงคเทลว่าประกอบธุรกิจอย่างไรบ้าง

4.ยอดจองหุ้น IPO สูงกว่าจำนวนหุ้นที่เสนอขาย 3 เท่า

จากการเสนอขายหุ้นไอพีโอ DTAC ได้รับการต้อนรับจากผู้ลงทุนสถาบันเป็นอย่างมาก มียอดการจองหุ้นสูงกว่าจำนวนหุ้นที่เสนอขายถึง 3 เท่า คาดว่า DTAC จะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ณ ราคาไอพีโอ ใหญ่เป็น 1 ใน 15 อันดับแรกของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย ณ ราคาไอพีโอ DTAC มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงประมาณ 94,000 ล้านบาท ” ….นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ในขณะนั้น

เคยทำราคาเมื่อ 8 พ.ค. 2556 สูงสุดที่ 133.00 บาท และต่ำสุด ปี 2559 ราคา 27.50 บาท

5.ผู้ถือหุ้นใหญ่

ในปี 50 ที่เข้าตลาด DTAC มี ผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 อันดับแรก ได้แก่ UCOM ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 35.74 บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 17.76 และ Telenor Asia Pte Ltd ถือหุ้นอัตราร้อยละ 15.64 ของทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วหลังไอพีโอ

ล่าสุดในปี 63 ผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก คือ TELENOR ASIA PTE LTD4 2.62% , บริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด 22.43% , บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 9.09% , บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 5.58% , สำนักงานประกันสังคม 1.75% โดยมีนาย บุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ และนายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

6.อดีตหุ้นปันผลสูง

ในช่วง 13 ปีทีผ่านมา DTAC มีการจ่ายเงินปันผลทุกปี แต่ที่ฮือฮาคือ ปี 2555 จ่ายปันผล 4 ครั้ง คือ 16 พ.ย. 2555 เงินปันผล 1.13 บาท , 22 ส.ค. 2555 เงินปันผล 2.27 บาท , 27 เม.ย. 2555 เงินปันผล 1.38 บาท , 12 ม.ค. 2555 กรณีพิเศษ 16.46 บาท , ส่วนปี 2554 เงินปันผล 3.21 บาท , 19 พ.ค. 2554 เงินปันผล 3.21บาท และล่าสุด 2562 เงินปันผล 1.26 บาท

ปลายปี 2554 ตอนนั้นมีการประมูลคลื่นมือถือ และ DTAC ก็เป็นหนึ่งในนั้นด้วย แต่บริษัทก็ไม่ได้ประมูลอย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก และมีเงินสดที่ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการประมูลคลื่นกองอยู่ในบริษัทมากมาย ด้วยเหตุนี้เอง คณะกรรมการจึงพิจารณาให้จ่ายเงินปันผลพิเศษ 16.46 บาท นั่นแปลว่าใครที่เข้าซื้อหุ้น DTAC ตั้งแต่วันก่อนมีข่าว (ที่ราคา 81.50 บาท) เขาจะได้อัตราเงินปันผลตอบแทนที่ราว 20% (อ้างอิงhttpsinvesting)

หลังจากที่มีข่าวอย่างเป็นทางการ หุ้น DTAC ในวันที่ 16 ธันวาคม 2554 ก็ปรับตัวขึ้นสูงเกิอบ 10% ภายในวันเดียว หลังจากนั้นราคาก็ไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างมีนัยเท่าไหร่ แต่เมื่อถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นวันก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย XD เพียงหนึ่งวัน ราคาหุ้นถูกเทขายอย่างหนักจนร่วงไป 20% และราคาหุ้น DTAC ก็หล่นมาเหลือเพียง 70 บาท(อ้างอิงinvesting)

7.CEO 7 ราย ใน 13 ปี

1.ซิคเว่ เบรคเก้ (Sigve Brekke) รับตำแหน่งซีอีโอร่วมกับคุณวิชัย เบญจรงคกุล ในช่วงปี 2002 – 2008 ระยะเวลา 6 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ซิคเว่สามารถฟื้นดีแทคจนเป็นเบอร์ 2 ของตลาด และในปี 2014 ซิคเว่ ได้กลับมารักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทคอีกครั้ง ก่อนส่งต่อให้กับ ‘ลาร์ส นอร์ลิ่ง’ 2.ทอเร่ จอห์นเซ่น (Tore Johnsen)

3.จอน เอ็ดดี้ อับดุลลา (Jon Eddy Abdullah)รับตำแหน่งซีอีโอเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2011 โดยก่อนหน้านี้ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เทเลนอร์ ปากีสถาน 4.ลาร์ส นอร์ลิ่ง5.เล็กซานดรา ไรช์ (Alexandra Reich) CEO หญิงแกร่งคนแรกของดีแทค ที่เข้ามารับตำแหน่งในวันที่ 1 กันยายน 2018 ก่อนจะประกาศลาออก 6.ชารัด เมห์โรทรา (Sharad Mehrotra) คนปัจจุบันร่วมงานกับเทเลนอร์ตั้งแต่ปี 2008 โดยรับตำแหน่งสำคัญในระดับบริหารในหลายประเทศทั่วเอเชีย (อ้างอิง positioningmag)

อย่างไรก็ตาม DTAC จัดเป็นหุ้นอีกตัวที่มีนักลงทุนนิยมกันมาก ซึ่งต้องติดตามว่าก้าวย่างปีที่ 14 จะทำผลตอบแทนให้นักลงทุนมากน้อยขนาดไหนค่ะ วันนี้ไปล่ะค่ะ บ๊ายย

 

ขอบคุณภาพประกอบจากเพจ หนุ่มสาวดีแทคน่ารัก
Facebook Comments