หุ้นโรงพยาบาล

หนังสืออิป้าหามาเล่ามาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุญาตให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้เอง เพื่อเป็นการรองรับให้แก่คนไทยที่พอจะมีรายได้ และอยากฉีดวัคซีนเลยโดยไม่ต้องคิวจากทางรัฐ อีกหนึ่งอย่างก็เป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้นด้วย และเมื่อเป็นเช่นนี้ หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลดูจะได้รับอานิสงส์มากที่สุด ซึ่งจะมีที่ไหนมาดูกันเลยคร้าาาา

1.BDMS (บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ) มาร์เก็ตแคปที่ 341,678.04 ล้านบาท

ราคาสิ้นปี 63 ปิดที่ 20.80 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 64 ปิดที่ 21.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.70 บาท หรือ +3.36%

เทียบราคาต่ำสุดปี 63 ในรอบ 1 ปี ณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ปิดที่ 1.30 บาท เทียบกับราคาล่าสุดวันที่ 5 มีนาคม 2564 ปิดที่ 21.50 บาท เพิ่มขึ้น 5.90 บาท หรือ +37.82%

โดย BDMS ยังมีอัพไซด์อยู่ที่ 11.62% (ราคาเป้าหมาย 24.00 บาท) ส่วนค่า P/E อยู่ที่ 47.36 เท่า และค่า P/BV อยู่ที่ 3.89 เท่า

ด้าน บล.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ระบุต่อว่า BDMS เป็น 1 ใน 4 โรงพยาบาลเอกชน ที่ได้ยื่นเรื่องขอนำเข้าวัคซีนโควิด-19 แต่ยังต้องรอการอนุมัติจากภาครัฐเสียก่อน โดยมองว่า ภาครัฐฯ จะอนุมัติให้ BDMS นำเข้าวัคซีนโควิด-19 ภายในปีนี้ ซึ่ง BDMS มีความได้เปรียบคู่แข่งอีก 3 ราย เนื่องจากมีโรงพยาบาลในประเทศไทยมากที่สุด 47 แห่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวก ส่งผลให้รายได้ผู้ป่วยในประเทศปีนี้ กลับมาเติบโตได้ดีกว่าคาด (ข้อมูลจาก efinancethai)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 5 มี.ค.2564 ได้แก่ 1.นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จำนวน 2,504,132,840 หุ้น หรือคิดเป็น 15.76% 2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 1,320,190,412 หุ้น หรือคิดเป็น 8.31% 3.บมจ.วิริยะประกันภัย จำนวน 948,283,830 หุ้น หรือคิดเป็น 5.97% 4.บมจ.การบินกรุงเทพ จำนวน 828,418,690 หุ้น หรือคิดเป็น 5.21% และ 5.น.ส.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ จำนวน 552,014,710 หุ้น หรือคิดเป็น 3.47%

2.RAM (บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง) มาร์เก็ตแคปที่ 34,680.00 ล้านบาท

ราคาสิ้นปี 63 ปิดที่ 139.50 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 64 ปิดที่ 144.50 บาท เพิ่มขึ้น 5.00 บาท หรือ +3.58%

เทียบราคาต่ำสุดปี 63 ในรอบ 1 ปี ณ วันที่ 13 และ 20 มีนาคม 2563 ปิดที่ 133.00 บาท เทียบกับราคาล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 ปิดที่ 144.50บาท เพิ่มขึ้น 11.5 บาท หรือ 8.64% ส่วนค่า P/E อยู่ที่ 54.87 เท่า และค่า P/BV อยู่ที่ 2.87 เท่า

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 5 มี.ค.2564 ได้แก่ 1.บริษัท เอฟแอนด์เอส 79 จำกัด จำนวน 55,246,695 หุ้น หรือคิดเป็น 23.02% 2.CYPRESS CONSOLIDATED HEALTHCARE PTE.LTD. จำนวน 48,000,000 หุ้น หรือคิดเป็น 20.00% 3.บริษัท โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม จำกัด จำนวน 17,246,000 หุ้น หรือคิดเป็น 7.19% 4.บริษัท สินแพทย์ จำกัด จำนวน 15,797,469 หุ้น หรือคิดเป็น 6.58% และ5.บมจ.โรงพยาบาลวิภาวดี จำนวน 13,083,036 หุ้น หรือคิดเป็น 5.45%

ผู้บริหารกลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหงแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า การอนุญาตให้เอกชนสามารถยื่นขออนุญาตนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มหรือเปิดทางเลือกให้กับกลุ่มประชาชนที่มีกำลังซื้อและไม่ต้องการรอรัฐบาลฉีดให้ฟรี อีกด้านหนึ่งก็จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ตามหลักการเบื้องต้นโรงพยาบาลเอกชนจะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ายาจาก อย.ก่อน และเมื่อ อย.ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและอนุญาตการขึ้นทะเบียนแล้ว (ข้อมูล prachachat)

3.THG (บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป) มาร์เก็ตแคปที่ 22,500.62 ล้านบาท

ราคาสิ้นปี 63 ปิดที่ 25.75 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 64 ปิดที่ 26.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือ +2.91%

เทียบราคาต่ำสุดปี 63 ในรอบ 1 ปี ณ วันที่ 13 มีนาคม 2563 ปิดที่ 15.00 บาท เทียบกับราคาล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 ปิดที่ 26.50 บาท เพิ่มขึ้น 11.50 บาท หรือ 76.66% ส่วนค่า P/E อยู่ที่ 258.19 เท่า และค่า P/BV อยู่ที่ 2.83 เท่า ซึ่งราคาเป้าหมาย 24.00 บาท ซึ่งถือว่ายังมีอัพไซด์อยู่ที่ 9.43%

นายแพทย์ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร THG บอกว่า ในปี 64 ธุรกิจจะทยอยฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวม เราเชื่อว่าถ้าวัคซีนโควิด สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากได้ ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจและช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ ด้านกลุ่ม รพ.ธนบุรี จะมีสัญญาณบวกการฟื้นตัวที่ดีขึ้น หากคนไข้ต่างประเทศเริ่มกลับเข้ามารักษาในประเทศไทย (ข้อมูล prachachat)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 5 มี.ค.2564 ได้แก่ 1.นางจารุวรรณ วนาสิน จำนวน 96,599,119 หุ้น หรือคิดเป็น 11.38% 2.บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง จำนวน 85,502,400 หุ้น หรือคิดเป็น 10.07% 3.WJ INTERNATIONAL HOSPITAL MANAGEMENT COMPANY LIMITED จำนวน 51,304,344 หุ้น หรือคิดเป็น 6.04% 4.นายแพทย์ อำนวย อุนนะนันทน์ จำนวน 43,510,970 หุ้น หรือคิดเป็น 5.12% 5.นายอาษา เมฆสวรรค์ จำนวน 29,743,637 หุ้น หรือคิดเป็น 3.50%

4.BCH (บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล) มาร์เก็ตแคปที่ 36,159.35 ล้านบาท

ราคาสิ้นปี 63 ปิดที่ 13.60 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 64 ปิดที่ 14.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.90 บาท หรือ +6.61%

เทียบราคาต่ำสุดปี 63 ในรอบ 1 ปี ณ วันที่ 13 มีนาคม 2563 ปิดที่ 10.00 บาท เทียบกับราคาล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 ปิดที่ 14.50 บาท เพิ่มขึ้น 4.50 บาท หรือ 45.00% ส่วนค่า P/E อยู่ที่ 29.41 เท่า และค่า P/BV อยู่ที่ 5.25 เท่า โดย BCH ยังมีอัพไซด์อยู่ที่ 23.44% (ราคาเป้าหมาย 17.90 บาท)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 5 มี.ค.2564 ได้แก่ 1.นายเฉลิม หาญพาณิชย์ จำนวน 813,750,000 หุ้น หรือคิดเป็น 32.63% 2.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวน 184,238,122 หุ้น หรือคิดเป็น 7.39% 3.พ.ญ. สมพร หาญพาณิชย์ จำนวน 181,750,000 หุ้น หรือคิดเป็น 7.29% 4.สำนักงานประกันสังคม จำนวน 149,908,80 หุ้น หรือคิดเป็น 6.01% 5.THE BANK OF NEW YORK MELLON จำนวน 120,389,300 หุ้น หรือคิดเป็น 4.83%

5.PRINC (บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอล) มาร์เก็ตแคปที่ 14,472.57 ล้านบาท

ราคาสิ้นปี 63 ปิดที่ 4.00 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 64 ปิดที่ 4.18 บาท เพิ่มขึ้น 0.18 บาท หรือ +4.50%

เทียบราคาต่ำสุดปี 63 ในรอบ 1 ปี ณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ปิดที่ 2.44 บาท เทียบกับราคาล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 ปิดที่ 4.18 บาท เพิ่มขึ้น 1.74 บาท หรือ 71.31% ส่วนค่า P/E อยู่ที่ N/A และค่า P/BV อยู่ที่ 1.74 เท่า

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 13 มี.ค.2563 ได้แก่ 1.UBS AG HONG KONG BRANCH จำนวน 1,262,060,526 หุ้น หรือคิดเป็น 36.45% 2.นาย สาธิต วิทยากร จำนวน 821,728,800 หุ้น หรือคิดเป็น 23.73% 3.น.ส. สาธิตา วิทยากร จำนวน 498,054,588 หุ้น หรือคิดเป็น 14.38% 4.INTERNATIONAL FINANCE CORPORATION จำนวน 222,249,300 หุ้น หรือคิดเป็น 6.42% 5.Peak Development Holdings Ltd. จำนวน 157,737,029 หุ้น หรือคิดเป็น 4.56%

บริษัทประเมินว่าภายหลังเริ่มนำเข้าวัคซีน คาดว่าผลประกอบการน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 นี้ และยังมั่นใจว่ารายได้ในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพราะรับรู้ผลดีจากการขยายโรงพยาบาลในปีที่ผ่านมา จำนวน 2 แห่งคือ โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร และโรงพยาบาลพริ้นซ์ อุบลราชธานี และในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2564 อีก 2 แห่งคือ คือโรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน และโรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ (ข้อมูล siamrath)

6.VIBHA (บมจ.โรงพยาบาลวิภาวดี) มาร์เก็ตแคปที่ 25,115.35 ล้านบาท

ราคาสิ้นปี 63 ปิดที่ 1.47 บาท ล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 64 ปิดที่ 1.85 บาท เพิ่มขึ้น 0.38 บาท หรือ +25.85%

เทียบราคาต่ำสุดปี 63 ในรอบ 1 ปี ณ วันที่ 17 เมษายน 2563 ปิดที่ 1.30 บาท เทียบกับราคาล่าสุด ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 ปิดที่ 1.85 บาท เพิ่มขึ้น 0.55 บาท หรือ 42.30% ส่วนค่า P/E อยู่ที่ 55.84 เท่า และค่า P/BV อยู่ที่ 3.07 เท่า

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก ณ วันที่ 13 มี.ค.2563 ได้แก่ 1.นาย ชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล จำนวน 1,983,500,000 หุ้น หรือคิดเป็น 14.95% 2.บริษัท เอฟแอนด์เอส 79 จำกัด จำนวน 1,933,742,766 หุ้น หรือคิดเป็น 14.58% 3.บริษัท สินแพทย์ จำกัด จำนวน 1,172,639,166 หุ้น หรือคิดเป็น 8.84% 4.บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) จำนวน 962,605,200 หุ้น หรือคิดเป็น 7.26% 5.บริษัท โรงพยาบาลเจ้าพระยา จำกัด (มหาชน) จำนวน 804,634,195 หุ้น หรือคิดเป็น 6.07%

ก่อนหน้านี้ราคาหุ้นของ VIBHA ถูกกดดันจากประเด็นการคืนเงินจองฉีดวัคซีนโควิด-19 เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขให้ระงับ เพราะอย.ยังไม่ได้รับรอบการใช้วัคซีนของโมเดอร์นา อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลยังมีข้อมูลของลูกค้าที่ได้จองฉีดวัคซีนโควิด-19 เข้ามา ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่เปิดรับจองไปมาก และเมื่อวัคซีนโควิด-19 ได้รับการรับรองจากทาง อย.ไทยแล้ว โรงพยาบาลจะมีการประกาศเปิดรับจองอีกครั้ง และตามกำหนดจะได้รับวัคซีนเข้ามาในเดือนต.ค.64 (ข้อมูล efinancethai)

อย่างไรก็ตาม ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีทั้งภาคธุรกิจ และประชาชนที่อยากจะฉีดวัคซีน ทำให้ธุรกิจโรงพยาบาลได้รับประโยชน์โดยตรง ซึ่งหลังจากนี้ไปต้องติดตามกันว่า เมื่อมีการได้ฉีดวัคซีนของโรงพยาบาลเอกชนราคาหุ้นจะวิ่งไปมากน้อยแค่ไหน…วันนี้ไปล่ะค่ะ…บ๊ายยย

Facebook Comments