อดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล

มาแล้วค่ะอิป้าหามาเล่า ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ยังไม่นิ่งเลยนะคะ แม้ว่าบ้านเราจะควบคุมได้ แต่ต่างชาติยังกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ โดยเฉพาะมือใหม่หัดเทรด อาจจะตุ้ม ๆ ต่อม ๆ เดินเข้ามาก้าวแล้วก็เจอปัญหาใหญ่ซะแล้ว อิป้าสุดแสนจะเป็นห่วงกับสถานการณ์ดังกล่าวว่าต่อไปเป็นอย่างไรหลังจากนี้ ดั๊นเลยรีบเดินตรงพุ่งชนเข้าหา คุณแบงก์ – อดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ (FVP) Product Management Department  ให้แนวคิดดังนี้ค่ะ

ต้องเลือกหุ้นที่ฟื้นได้เร็วกว่าคนอื่น

ถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วการลงทุนในตลาดหุ้นดูเหมือนจะง่าย เพราะปัจจุบันมีนักลงทุนมือใหม่ ๆ หน้าใหม่ ๆ เข้ามาลงทุนในช่วงตลาดได้รับผลกระทบจากปัญหาไวรัสโควิด-19 แม้ว่าตอนนั้นตลาดจะลงมา 1,100 จุด และก็พยายามที่จะเข้าไปลุยต่อ เพราะมองว่า รอบนี้จะได้เงินง่ายมาก สำหรับเม็ดเงินใหม่ที่จะเข้ามา

อย่างไรก็ตาม ก็ต้องมีความระมัดระวังด้วยเหมือนกัน เพราะว่าตลาดที่ผ่านมาในช่วง 3-4 เดือนที่ไหลขึ้นจาก 1,000 จุด มา 1,300 -1,400 จุด ปัจจุบันมันเป็นการขึ้นแบบทุกตัวอยู่พอสมควรแต่ต้องบอกว่าในระยะถัดไปตลาดจะเลือกข้างมากขึ้น เราจะเห็นผู้ชนะ และเราจะเห็นผู้แพ้ เราจะเห็นผู้ที่ฟื้นเร็ว และเราจะเห็นคนที่ฟื้นช้า

ฉะนั้นในช่วงครึ่งปีหลัง เราจะเล่นแบบหุ้นขึ้นทุกตัวไม่ได้ แต่เราต้องเลือกอยู่ในสตอรี่ที่คิดว่า จะทำได้ดีกว่าคนอื่น หรือจะฟื้นได้เร็วกว่าคนอื่น และจะเป็นผู้ชนะในระยะยาว เช่น ถ้าอยู่ในกลุ่มแบงก์ เราถืออยู่ถูก แต่อาจจะไม่ค่อยได้เงินสักเท่าไร และถ้าเกิดตลาดเกิดพลิกล็อค หล่นลงมาอาจจะเจ็บได้เยอะด้วยเช่นกัน

หนังสืออิป้าหามาเล่าหลากหลายประเด็นต้องเกาะติด

อีกประเด็นที่นักลงทุนมือใหม่ต้องติดตามก็คือ ปัญหาไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่จบแม้ว่าบ้านเราจะควบคุมได้ดี แต่ในทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบอยู่ รวมถึงวัคซีนที่จะเข้ามาป้องกันนั้น แม้จะมีข่าวในเชิงบวกขึ้นมาเรื่อย ๆ แม้จะมีการพัฒนาที่เสร็จแล้วแต่เรายังไม่ได้ฉีด มันก็ไม่มีผล มันอาจจะมีผลต่อตลาดหุ้น แต่ส่วนของเศรษฐกิจมันยังไม่เห็นมันใช่เวลาก็อย่างน้อย 12 เดือน ประเด็นนี้ต้องติดตาม

ขณะเดียวกันประเด็นที่ใกล้เข้ามาหน่อยที่จะต้องติดตามนั้นก็คือ การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ในรอบเดือนพ.ย.63 นี้ ซึ่งตอนนี้โจ ไบเดน อดีตรอง ปธน.สมัยโอบามา ได้พูดชัดเจนว่า พูดชัดเลยว่า เรื่องของ corporate tax ที่อาจจะต้องขึ้น ซึ่งมองสวนกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐคนปัจจุบันไปอย่างสิ้นเชิง

ขณะเดียวตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ FED ก็ต้องมีการระมัดระวัง ถ้าเกิดมีประเด็นในการขึ้นภาษีเข้ามา นอกจากนี้แล้ว แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา เฟดบอกใช้ QE แบบไม่อั้นอาจส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วยอย่างแน่นอน

แต่เมื่อเฟดลดการซื้อปริมาณพันธบัตรต่อเนื่อง จากในช่วงที่โควิด-19 มาใหม่ ๆ ซื้อไปสัปดาห์หนึ่ง 3 แสนล้านเหรีญสหรัฐฯ วันนี้เหลือ 2 หมื่นล้านเหรียญต่อสัปดาห์ และเราเริ่มเห็นสัญญาณว่า หลังๆ เฟดเริ่มซื้อน้อย ซื้อจน Balance Sheet (แบลเลิน ชีท) หรือ งบแสดงฐานะการเงิน ที่เคยมี ถ้าซื้อตลอด Balance Sheet มันก็จะขึ้นตลอด แต่ตอนนี้ Balance Sheet เริ่มมีโค้งลงมาบ้าง และคนก็เริ่ม forecast แล้วว่า ขนาดสินทรัพย์ของเฟดที่มันน่าจะขึ้นไปเยอะ ๆ มันอาจจะขึ้นไปไม่ได้เยอะอย่างที่คิด

สิ่งที่น่ากลัวคือ เวลาเศรษฐกิจกลับมาฟื้น เวลาวัคซีนมา สิ่งหนึ่งที่อาจจะสวนทางได้คือ ท่าทีของเฟดเหมือนกัน สมมุติการจ้างงานเริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โควิด-19 เริ่มคุมได้ดี แต่เฟดกับลดขนาดสินทรัพย์ลง ซึ่งจะเหมือนปี 2013 – 2014 ลดขนาดสินทรัพย์ปุ๊บเศรษฐกิจดีก็จริง แต่หุ้นลง นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่เราจะต้องจับตาดู

จับตาคณะรัฐมนตรีใหม่-ผู้ว่าแบงก์ชาติใหม่

ส่วนในประเทศ ที่ต้องจับตามองคือ เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีใหม่ไป เราก็ต้องดูว่า รัฐมนตรีใหม่มาจะเป็นอย่างไร ซึ่งก็ต้องบอกว่าจริง ๆ ไม่ใช่แค่รัฐมตรีใหม่เท่านั้น เพราะในช่วงปลายปีนี้ก็จะมีการปรับเปลี่ยนผู้ว่าแบงก์ชาติอีกด้วย ซึ่ง ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระในวันที่ 30 ก.ย.นี้ และนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ หนึ่งในบอร์ดกนง.จะเข้ารับไม้ต่อแทน เพราะฉะนั้นทั้งนโยบายการคลัง นโยบายการเงินทีมใหม่คนใหม่ จะออกมาแบบไหน เพราะที่ผ่านมาเราก็บอกว่าเราใช้ไปแล้วนโยบายการเงินก็ลดดอกเบี้ยจนกระสุนมันก็เหลือจำกัดแล้ว และนโยบายการคลังเราก็ใช้แล้ว

ขณะที่ในส่วนของ รัฐมนตรีว่าการคลังคนใหม่ที่จะเข้ามาต้องบอกว่า ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ว่าใครจะเข้ามาบริหารในช่วงสถานการณ์แบบนี้ ค่อนข้างจะเหนื่อย ซึ่งจะไปโทษฝีมืออย่างเดียวก็ไม่ได้ ด้วยสถานการณ์มันยาก มันยากเพราะนักท่องเที่ยวมันหายไป 2 ล้านล้านคนแล้ว 11% ของจีดีพี จะชดเชยยังไง และ 2 ล้านล้านคนที่เข้ามาเวลาเค้าใช้จ่ายมันก็เกิดการจ้างงาน พนักงานโรงแรมได้เงินเดือนไปก็เอาไปใช้จ่ายต่อต้องกินต้องใช้ ไปเช่าห้อง ไปซื้ออาหาร มันก็เกิดการจ้างงานต่อเนื่อง สมมุติการว่างงานมันเพิ่ม รายได้มันลด แล้วใครจะบริโภคมันก็น้อยลง สินค้าหนัก ๆ จะเหนื่อยเลยลงด้วย

การท่องเที่ยวยังเหนื่อย

ในส่วนของการท่องเที่ยว วัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ นักท่องเที่ยวต้องกลับหรือไม่กลับมาก็ยังมองว่า การฟื้นตัวยังจะเหนื่อยอยู่ เพราะว่าการจ้างงานเราจะไม่ฟื้น เพราะเราโดนทั้งการจ้างงานในภาคท่องเที่ยว การจ้างงานในอุตสาหกรรมด้วย ซึ่งถ้าในระยะยาว เช่นโรงงานผลิตรถยนต์ยังไม่เริ่มกลับมาผลิตเต็ม คนที่ว่างงานก็ต้องกลับบ้านไป ภาพสุดท้ายในระยะยาวมันต้องไปสร้างเศรษฐกิจชุมชน คือสมมุติกลับบ้านไปในชุมชนของเราต้องมีการจ้างงานสักอย่างหนึ่งรองรับด้วย

นอกจากนี้ถ้าจะมาทำงานที่กรุงเทพฯ ทำงานท่องเที่ยว อยู่ในโรงแรมอย่างเดียวมันอาจจะไม่ได้แล้ว อันนี้มันเป็นภาพที่เราอย่างจะเห็นและในอนาคตมีการจ้างงานเราจะรณรงค์ หรือจะมีวิธีการแบบไหน เพื่อที่จะให้เกิดการจ้างงานที่มันกระจายตัวและทั่วถึง ถ้าเกิดโควิด-19 มันจะยังคงอยู่กับเราแบบนี้

หลีกเลี่ยงหุ้นหลุ่มที่โดน Disruption

สุดท้ายนี้ คุณแบงก์ – อดิศักดิ์ ได้แนะนำนักลงทุนว่า ถ้าหุ้นกลุ่มไหนโดนDisruption” หุ้นกลุ่มพวกนี้ต้องหลีกเลี่ยงก่อน ส่วนในภาพ Set Index ต้องบอกว่า ปัจจุบัน ดอกเบี้ยต่ำลงไปมากแล้ว สะท้อนในเรื่องของกำไรปีหน้าไปเรียบร้อยแล้ว ทีนี้กำไรจะฟื้นดีหรือไม่ดีเงื่อนไขอยู่ว่า วัคซีนไวรัสโควิด-19 จะมาหรือไม รวมถึงในต่างประเทศจะควบคุมได้หรือไม่ แม้ว่าบ้านเราจะควบคุมได้ แต่ไม่พอต่างประเทศต้องคุมอยู่ เพราะไม่งั้นส่งออกก็ไม่ฟื้น

ถ้าจะเลือกหุ้นก็อยากให้Selective ในกลุ่มหุ้นที่น่าจะเป็นคนที่ Winner ในรอบนี้ ผลดีจากดอกเบี้ยต่ำ พฤติกรรมที่เอนไปในเรื่องของเทคโนโลยี ที่มากขึ้น มีส่วนแบ่งทางการที่มากขึ้น เรื่องของสุภาพ Aging Society และ Green Energy อยู่ใน 5 สตอรี่นี้จะปลอดภัย ซึ่งจะรับแทกกระแทกได้ไหน หุ้นหล่นก็หล่นบ้าง แต่สุดท้ายจะกลับมาได้เร็ว หลาย ๆ ตัวทำนิวไฮด์ ก่อนไวรัสโควิด-19 ด้วยเช่นกัน ซึ่งอีป้าจะนำมาเสนอต่อว่า ถ้าแยกเป็นตัว ๆ แล้วมีตัวไหนของแต่ละกลุ่มที่น่าสนใจบ้าง รอติดตามกันนะคะ วันนี้ไปล่ะค่ะ…บ๊ายยย

Facebook Comments