สำรองเลี้ยงชีพ

เมื่อคืน น้องชายตัวดีของอิป้า เพิ่งทำงานใหม่ๆ แจ้นมาจับเข่าขอปรึกษาเรื่อง “เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ” ก็เลยโม้ให้ฟังจนหลับ พลันจุดประกาย มาเม้าท์ เรื่องนี้กันดีกว่า เพราะเชื่อว่ามนุษย์ เงินเดือน ส่วนใหญ่ที่ทำงานในองค์กรมีคุณภาพตามหลักสากลแล้ว มักจะมี “เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)”ให้ด้วยซึ่งน่าแฮปปี้ มากๆ ค่ะ

กองทุน สำรองเลี้ยงชีพ มีดียังไง

ปูพื้นฐาน เบๆ ให้ฟังเล็กๆนะค่ะ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มาจาก 2เงิน คือ “เงินสะสม” และ “เงินสมทบ” ทำให้เกิด “ผลประโยชน์เงินสะสม” …ง่ายๆ “เงินสะสม“คือเงินของคุณ ๆท่านๆ นั้นเองค่ะ.. ส่วนเงินสมทบ ชื่อบอกชัดแล้วว่าเป็นการสมทบ จากนายจ้างผู้ใจดีของเรานั้นเอง ซึ่ง อิป้า ขอบอกดังๆเลยว่าถ้าบริษัทไหนมี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้ว ให้ไวเลยค่ะ อย่าช้า มีแต่ได้กับได้

ทุกตำรา ทุกเกจิ ผู้เชี่ยวชาญ ขับขานทำนองเดียวกันว่า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นการออมเงินพื้นฐานที่ง่าย และดีที่สุดเลยค่ะ!!

คนหนุ่มสาว ที่มี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ให้อุ่นใจได้ในระดับหนึ่ง ว่ามี “เงินเก็บ”ส่วนหนึ่ง ใว้ใช้ยามร่วงโรย แต่ทว่า หากท่านใดเบื่อหละ จะออกจากงาน หรือรับข้อเสนอจากโครงการเออรี่รีไทร์ แล้วไง “เงินก้อน” ที่เพียรสะสมมานั้น จะบริหารจัดการอย่างไรดี

อย่างแรก ลาออกงานแล้ว แต่ยังไม่ลาออกจากกองทุนฯ คือยังเป็นสมาชิกเหมือนเดิม อายุสมาชิกต่อเนื่อง ไม่ต้องมานับ 1ใหม่ เหมือนกับถ้าเราไปเริ่มงานที่ใหม่ เริ่มสมัครกองทุนฯใหม่ เท่ากับนับ1กันใหม่ เฮ้อ เหนื่อย! แต่ถ้าคงเงินไว้จะสามารถย้ายเข้าไปที่กองทุนฯของที่ทำงานใหม่ต่อเนื่องกันได้เลย

และหากถือเงินไว้จนถึงอายุ 55 ปีและมีอายุสมาชิกกองทุนฯไม่น้อยกว่า 5 ปี …ภาษี จะไม่โอกาศมาทำให้คุณ ปวดหัว ปวดใจ แน่นอนค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากคุณออมเงินไว้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วลาออกมาทำงานเอกชน ไม่ต้องซีเรียส นะคะ เพราะตอนนี้ เขาเปิดให้รับโอนมาจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ จึงสามารถออมเงินได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันค่ะ

อย่างที่ 2. ลาออกงานแล้ว ที่ทำงานใหม่ ไม่มีกองทุน ฯ หรือ ถูกให้ออกจากงานเมื่ออายุมากและไม่สามารถหางานทำใหม่ได้ หรือเปลี่ยนอาชีพไปประกอบอาชีพอิสระ …อ๊อปชั่น นี่ ต้องมุ่งไปที่ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF นั้นเองค่ะ

ซึ่งขณะนี้ เราสามารถ โอนย้ายเงินจากกองทุนฯ เพื่อมาลงทุนใน RMF ต่อเนื่องจนผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปี (จะได้ไม่เสียภาษี) และมีอายุการเป็นสมาชิกกองทุนฯ ไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับรวมอายุต่อจากที่ โอนเงินจาก กองทุนฯมา RMF ด้วย) จะได้เข้าเงื่อนไขไม่ต้องเสียภาษี ไงค่ะ

หรือจะถือต่อเนื่องไปอีกจนกว่าจะต้องการใช้เงิน ซึ่งRMF มีนโยบายหลากหลายให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกการลงทุนให้เหมาะสมกับตนเอง และสามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนระหว่างกองทุน RMF ด้วยกัน เพื่อบริหารจัดการการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดได้ …ได้หมด ถ้าสดชื่น ค่ะคุณขา

ตอนนี้ อิป้า แนะนำ “กรุงศรี” ค่ะ เดินเข้าไปเลย ธนาคารกรุงศรี ทุกสาขาทั่วประเทศ บอกขอเปิดบัญชี RMF for PVD และแจ้งความประสงค์ต่อนายจ้างเมื่อลาออก เพื่อให้บริษัทจัดการ กองทุนฯ โอนเงินไปยัง RMF ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารการลาออกครบถ้วน

โดยระบุกองทุน RMF ที่ต้องการจะให้ย้ายเงินไป โดยสามารถโอนย้าย PVD มายัง RMF ได้เต็มจำนวนและไม่เสียค่าธรรมเนียมการโอนย้ายอีกต่างหากค่ะ

อย่างที่ 3 ลาออกจากงาน ลาออกจากกองทุนฯ ได้รับเงินก้อน เงินสะสมเต็มๆ พร้อมสิ้นสุดสมาชิกภาพของกองทุนฯด้วย แต่ทว่า มีเรื่องของ”ภาษี”เข้ามาวุ่นวายใจ ด้วยซิค่ะ ซึ่งแปลว่าถ้าคุณยังหนุ่มสาว และไม่อยากโดนภาษีแล้ว ทางเลือกนี้ไม่ค่อยน่าสนใจค่ะ แต่ถ้าจะนำเงินก้อนไปลงทุน ด้านอื่น ก็ได้ค่ะ

สุดท้าย ท้ายสุด อิป้า มองว่าพื้นฐานที่สุดของการลงทุน คือการออม นั้นเองค่ะ …ออมเข้าไปเถอะ แบบไหนก็ได้ พอเงินเริ่มเหลือ เวลาจะลงทุนอะไร ก็จะง่ายขึ้นเองค่ะ…ไปละ บ๊ายย

———————————–

ติดตามที่ :
? Website : www.epahamalao.com
? Facebook : www.facebook.com/epahamalao
? Instagram : www.instagram.com/epahamalao
? Twitter : www.twitter.com/epahamalao

#หุ้น #กองทุนรวม #fund #set #Mutualfund #epahamalao #อิป้าหามาเล่า #ตลาดหุ้น #ตลาดหุ้นไทย #mai #ลงทุน #pvd #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #Providentfund

Facebook Comments