ธนาคาร

…วันก่อน ไปประสบพบเจอ บทความคูลๆ อ่านเพลินเจริญสาระมาค้า คุณขาาาา อิป้า เลยไม่รอช้า จัดเสริฟมาให้ลิ้มลองทัศนากันได้เลยยย..อ้อ ต้องบอกกันก่อน ว่าคมคิดดังกล่าวนี้มาจาก คุณวีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ร่ายมนต์ บทความที่ชื่อว่า “ข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อน ธนาคาร แห่งอนาคต“..ไปอ่านกันเล๊ยยย

ในยุคที่ ฟินเทค สตาร์ทอัพ ได้เข้ามาสร้างความตื่นตัวให้อุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการเงินการธนาคาร ทำให้หลายคนสงสัยว่า หนทางในการปรับตัวและการสร้างบทบาทสำคัญของสถาบันการเงินนั้นจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด …ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านในภาคอุตสาหกรรมการเงิน โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยในการพัฒนาบริการทางด้านการเงินที่ช่วยอำนวยความสะดวกและสามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลได้ทุกที่ ทุกเวลา

การแข่งขันของ ธนาคาร

การแข่งขันของสาขาธนาคารที่กำลังเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบของการบริการให้เข้าสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น บวกกับความคาดหวังของผู้บริโภคที่ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้องค์กรยักษ์ใหญ่อย่างธนาคารสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้นั้นก็คือการนำ “ข้อมูล” มาใช้ให้เกิดประโยชน์

แหม “คุณวีระ” เกรินเปิดมาได้น่าสนใจเลยละค่ะ เธอบรรเลงบทย่อยลงมาคือ “ความท้าทายของสถานะกิจการที่เป็นอยู่ (Status Quo)”..ปริมาณการใช้ข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นภูมิภาคที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีทางการเงินมากกว่าภูมิภาคอื่น

ยกตัวอย่างในประเทศจีน บริษัทเทนเซ็นต์ได้ขยายกิจการไปสู่การเปิดดิจิทัลแบงกิ้งในชื่อ WeBank โดยอาศัยการโปรโมทบริการทางการเงินให้กับผู้ใช้งานจำนวน 800 ล้านคน ผ่านแอพพลิเคชั่น WeChat ซึ่งภายในระยะเวลา 6 เดือนแรก Webank ใช้เงินลงทุนจำนวน 800 ล้านหยวนไปกับการดำเนินการติดต่อลูกค้าเฉพาะรายและองค์กรขนาดเล็กให้กับธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ

วีระ อารีรัตนศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ตแอพ ประจำมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์

ทางด้านธนาคาร Timo (ย่อมาจาก ‘Time and Money’) ของประเทศเวียดนาม ได้ร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นเพื่อสร้างบริการดิจิทัลแบงกิ้งเป็นครั้งแรกในประเทศ มอบบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ ตลอดจนสามารถเติมเงินในมือถือได้บนแพลตฟอร์มเดียว แทนที่จะต้องเสียเวลารอคิวที่สาขา หรือการล็อคอินเข้าสู่ระบบต่างๆ เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์

บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ เหล่านี้ มีองค์ประกอบที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือการออกแบบที่มีพื้นฐานมาจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่หรือ บิ้ก ดาต้า ภาคการเงินกำลังตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ในธุรกิจของพวกเขาอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็พร้อมด้วยความมั่นคง

และอีกหนึ่งตัวอย่างด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ธนาคารดีบีเอสของประเทศสิงคโปร์ได้ทำการติดตั้ง Digibank ในประเทศอินโดนีเซียและอินเดีย ซึ่งมีคอนเซปต์เป็นธนาคารไร้สาขาที่ไม่ต้องใช้เอกสารหรือลายเซนต์ในการดำเนินการ แต่ทำทุกอย่างผ่านระบบมือถือเท่านั้น

การผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรยักษใหญ่อย่างธนาคาร ส่วนหนึ่งมาจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในสถาบันการเงินที่ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและพร้อมที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันเทคโนโลยี นายแดริล เวส ซีไอโอแห่งธนาคารเอชเอสบีซี ได้กล่าวในงานสัมนา Google Cloud Next Conference ครั้งล่าสุด ที่เมืองซานฟรานซิสโกไว้ว่า นอกเหนือจากทรัพย์สินมูลค่า 2.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ฐานข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทเช่นเดียวกัน

นายเวส มองเห็นการเพิ่มขึ้นของข้อมูลจำนวนมหาศาล ที่เกิดจากการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลของลูกค้า การเก็บข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้าอย่างชาญฉลาด ทำให้ธนาคารเอชเอสบีซีร่วมมือกับบริษัทฟินเทคเพื่อสร้างข้อมูลเชิงลึกผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และสร้างประสบการณ์ที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมได้ยิ่งขึ้น

….ยัง ยัง ไม่ จบนะค่ะ เดี่ยวมาต่อตอน 2 นะค่ะ …

—————————————
ติดตามที่ :
? Website : www.epahamalao.com
? Facebook : www.facebook.com/epahamalao
? Instagram : www.instagram.com/epahamalao
? Twitter : www.twitter.com/epahamalao

#หุ้น #กองทุนรวม #fund #set #Mutualfund #epahamalao #อิป้าหามาเล่า #ตลาดหุ้น #ตลาดหุ้นไทย #mai #ลงทุน

Facebook Comments