epahamalao

อะไรที่ต้องแคร์? ก่อนเลือกกองทุน Healthcare

Healthcare

มีตติ้งเมื่อคืน ทำให้อิป้า เสียเซลฟ อย่างแร๊งงง คุณขา ต้องรีบมาเม้าท์ด่วนๆๆๆ เพื่อนตัวดี ต่างขอ ขยี้ตาแปร๊ป!! แล้วรุมถล่ม หุ่นของอิป้ากันเสียยับ ว่าสาวเอวบางร่างน้อยหายไปไหน ? สงสัยต้องออกกำลังกายแล้วซิเรา ตอนนี้เทรนสุขภาพมาแรงนะค่ะ ไปโม้เรื่อง หุ้นกลุ่ม Healthcare กันดีกว่าค่ะ ว่าจะยังเป๊ะ ฟิตเปรี๊ยะหรือหง่อมไข้ ขนาดไหน

กองทุนHealthcare เคยเป็นดาวรุ่งในช่วงหลายปีก่อน แต่ช่วง 3ปีที่พ้นผ่าน แสนทรมานค่ะ คุ๊ณ ยิ่งปี 2559 หุ้นในกลุ่มนี้ ดิ่งเหวสุดๆ มาจากการเมืองช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งไปเกี่ยวกับงราคายา ต่อมาได้อีตาทรัมป์ มาเป็นพี่เบิ้ม กระแสยังพอกระเตี้องขึ้นเรื่อยๆ พอมีถึงปีนี้ 2561 หลายสำนักเริ่มจับตาว่ากลุ่มนี้ กำลังจะกลับมาผงาด อีกครั้งค่ะ

นักวิเคราะห์ บางรายถึงกับบอกเลยว่า การทยอยลงทุนในหุ้นเฮลท์แคร์ นั้นน่าสนใจ เพราะถือเป็นเมกะเทรนด์ของโลกในระยะนี้ อัยยะ! บางรายก็ฟันธงแบบไม่กลัวธงหักเลยว่า  เป็นธีมการลงทุนะยะยาวในอุตสาหกรรมที่เติบโตตามโครงสร้างของประชากรที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น.. อึมอันนี้เข้าเค้า อิป้าเห็นดีเห็นงามด้วยค่ะ

อิป้า มองว่า ถ้ากลุ่ม Healthcare จะกลับมา น่าจะอยู่ใน 3-4 เงื่อนไข เหล่านี้ 1.สังคมผู้สูงอายุ อีกไม่กี่ปีไทยก็จะเข้าเป็นสมาชิกสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว (ไม่รวมอิป้านะคะ) ซึ่งธุรกิจหลากหลายจะพึ่งพิงนวัตกรรมใหม่ ๆ ทำให้ ธุรกิจ โรงพยาบาล บริษัทผลิตยารักษาโรค เครื่องมือทางการแพทย์ น่าจะแข่งขันกันดุเดือดแย่งลูกค้า

ข้อที่ 2.เทรนด์รักษ์สุขภาพ มาแล้วยังอยู่ได้ยาว เอาแค่ธุรกิจรองเท้าวิ่งอย่่างเดียวก็บูมสุดๆ ไปแล้ว ซึ่งพฤติกรรมของคนที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทำให้ยิ่งตอกย้ำว่าในอนาคต ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีการเติบโตที่สูงมาก

ข้อที่ 3.นวัตกรรมยารักษาโรคที่ถูกคิดค้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้รักษาโรคที่เคยรักษาไม่หายได้ และมีแนวโน้มที่ยาจะได้รับสิทธิบัตรเพิ่มขึ้นมาก นั้นเองค่ะ

ข้อที่ 4 กระแสโลกาภิวัตน์ ประเทศทั่วโลกเชื่อมโยงถึงกันเศรษฐกิจแต่ละประเทศขยายตัวใกล้เคียงกัน หาก GDP แต่ละประเทศขยายตัวมากขึ้น จะทำให้การใช้จ่ายด้านสุขภาพเติบโตตามไปด้วย

ดาวรุ่ง กองทุน Healthcare

แล้วจะไปกองทุนไหนดีละ อิป้า ? ..ตัวแรก กองทุน T-Healthcare ของ บลจ.ธนชาต” ปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ระดับราคาปัจจุบันปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดมากกว่า 20% และผลตอบแทนกองทุนหลัก ยังอยู่ในเกณฑ์ดี นับแต่จัดตั้งเมื่อมีนาคมปี 2000 และยังเหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งกองทุนนี้มีจุดเด่นคือ นักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เฉพาะทาง

กองทุน BCARE ของ บลจ.บัวหลวง มีจุดเด่นที่ค่อนข้างกระจายการลงทุน เพราะอุตสาหกรรม Healthcare นั่นแยกย่อยได้เพียบ ทั้งบริษัทค้นคว้าและวิจัยนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับยารักษาโรค/บริษัทผลิตยารักษาโรค/บริษัทผลิตเครื่องมือทางการแพทย์/ธุรกิจเกี่ยวกับบ้านพักสำหรับผู้สูงวัย/ธุรกิจที่เกี่ยวกับการประกันสุขภาพ

กองทุน KF-HEALTHD ของ บลจ.กรุงศรี เน้นหุ้นกลุ่ม Biotech มีระดับ P/E (อัตราส่วนต่อกำไร) ค่อนข้างถูก ส่วนกองทุน CIMB-PRINCIPAL GSA ของ บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จะลงทุนในธีม Silver Age คือ กลุ่มผู้บริโภควัยเกษียณที่รวย ซึ่ง กองทุนนี้จะลงทุนในกลุ่มอุตสหกรรมแยกย่อยๆอื่นลงไปอีก ซึ่งมีความผันผวนน้อยกว่าการลงทุนหุ้น Healthcare โดยตรง

อย่างไรก็ตาม กลุ่ม Healthcare นั้นแม้จะมีอนาคต แต่ไม่ควรเทลงไปมาก เอาเป็นว่า ถ้าหวังผลระยะยาว และยังไม่มีในพอร์ต จัดมาได้ค่ะ แต่อย่าให้เกิน 10 % แต่หากมีมากอยู่แล้วก็ไม่ควรซื้อเพิ่ม ยึดหลักพอเพียงไงคะ..เพราะปัจจัยเสี่ยงหลายตัวยังผันผวน วางใจไม่ค่อยได้ค่ะ ทั้งเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง ความกังวลต่อสงครามการค้า และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น

สรุปสั้นๆยังไม่มี มีได้ แต่อย่าเยอะ และควรเลือกกองที่ไปลงทุนหลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยงนั้นเองค่ะ…อิป้า ต้องขอตัวไปซิทอัพก่อนนะค้าาา…บ๊ายยย
———————————-
ติดตามที่ :
? Website : www.epahamalao.com
? Facebook : www.facebook.com/epahamalao
? Instagram : www.instagram.com/epahamalao
? Twitter : www.twitter.com/epahamalao

#หุ้น #กองทุนรวม #fund #set #Mutualfund #epahamalao #อิป้าหามาเล่า #ตลาดหุ้น #ตลาดหุ้นไทย #mai #ลงทุน #กองทุนHealthcare #Healthcare

Facebook Comments
Skip to toolbar