วศิน วณิชย์วรนันต์

มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า วันก่อนมีโอกาสเข้าไปเจอะเจอคุณวศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) ดั๊นเลยไม่พลาดที่จะถามถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก บ้านเรา ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ว่า หลังจากนี้ต่อไปจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

ไทยโดดเด่นเรื่องของเฮลแคร์

โดยคุณวศินก็ได้ให้มุมมองมาว่า ก่อนหน้านี้เราจะได้ยินในเรื่องของเมกะเทรนด์ไม่ว่าจะเป็น สังคมชราภาพ คนมีอายุยืนขึ้น ดูแลสุขภาพมากขึ้น และในประเทศไทยมีความโดดเด่นมากในเรื่องของเฮลแคร์ ไม่ว่าจะก่อนเกิดโควิด -19 ถ้าพูดถึงประกันสุขภาพถ้วนหน้า เราถือว่าเป็นประเทศชั้นนำ และยิ่งโควิดเข้ามาก็ยิ่งเป็นตัวพิสูจน์ ว่าเราเองให้การจัดการเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นด้านสุขภาพ บวกกับการรักษาสุขภาพที่คนหันมาใส่ใจกันมากขึ้น

แม้กระทั้งการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่มีทั้ง AI และโรบอตเข้ามา เรื่องของสิ่งแวลล้อม และก็ทรัพยากร .ภูมิศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่พอมีวิกฤติโควิด-19 เข้ามาเลยการเป็นตัวเร่งของการใช้พวก IT หรือโซเชียลต่าง ๆ เข้ามาประกอบผู้คนต้องการที่จะติดต่อกัน

อนาคต “กองทุนตราสารหนี้ภาคเอกชน” น่าสนใจ

ในส่วนของบลจ.กสิกรไทย ได้มีการปรับการบริหารงานยุค New Normal ต้องสร้างความเข้าใจให้แก่ลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายระหว่างผู้ลงทุนกับผู้จัดการกองทุน หรือบลจ. เพราะเรามองว่า การขายกองทุนมันไม่จบ บริษัทบริหารกองทุนให้กับลูกค้า ฉะนั้นเราพยายามอธิบายเรื่องกองทุนแต่ละเรื่องเข้าไปให้ลูกค้าเข้าใจ เราเองต้องเขยิบเข้าไปเข้าใจลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น

ส่วนมุมมองการลงทุนมองว่า การลงทุนในตราสารหนี้ ผลตอบแทนให้ต่ำ โดยเฉพาะตราสารหนี้ที่เป็นภาคเอกชนสภาพคล่องเกิดการหดตัว ในส่วนต่างผลตอบแทนมันก็เลยหายไป เพราะทิศทางเศรษฐกิจโลกเกิดการแกว่งตัว ทำให้ NAV เกิดการแกว่งตัว คนหลาย ๆ คนก็เลยกลัวกองทุนตราสารหนี้ ที่มีตราสารหนี้ภาคเอกชน รวมถึงกองทุนรวมที่เข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศด้วย ตรงนี้มันเกิดจากความแกว่งตัว แต่ถ้าให้ดูก็ไม่ได้ขาดทุนมันเกิดการแกว่งตัวผลตอบแทนก็เลยยังไม่เข้ามา แต่นักลงทุนก็มีความกังวล เพราะดูไม่น่าลงทุนเหมือนสมัยก่อน

“แต่พอเริ่มเข้าสู่สมดุล สิ่งที่จะเริ่มเข้ามาก็คือ กองทุนตราสารหนี้ภาคเอกชน พอเริ่มเข้ามาส่วนต่างผลตอบแทนระหว่างตราสารหนี้ภาคเอกชน และตราสารหนี้ภาครัฐ มันจะแคบลง ก็จะทำให้กองทุนตราสารหนี้ภาคเอกชนมี ความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตอนนี้ก็ดูมีสมดุลมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็คงต้องรอเวลา”

ครึ่งปีหลังต้องกระจายการลงทุนมากขึ้น

ขณะที่มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นทั่วโลกการแม้เกิดวิกฤติแต่กลับฟื้นตัวได้เร็วมาก แม้ลงไป 30 จุด แต่ก็สามารถกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว 20 กว่าจุด หรือลงจาก 1,500 จุดปลาย ๆ ตอนนี้กลับมา 1,300 จุด นักลงทุนก็เลยวิ่งเข้าไปลงทุนในหุ้น

โดยครึ่งปีหลังบริษัทการลงทุนต้องมีการกระจายการลงทุนมากขึ้น การจะลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นเป็นไปได้อย่างที่จะได้รับผลตอบแทน ขณะเดียวกันในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่น่าจะต่ำเตี้ยลงไปอีกนานพอสมควร การจะลงในตราสารหนี้อย่างเดียว เป็นไปไม่ได้ ต้องขยับผสมผสานกันไป การจะลงทุน และจะลงทุนในประเทศอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมีการลงทุนไปยังต่างประเทศด้วย เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องกระจายการลงทุนออกไป

“ผมยกตัวอย่างวันที่เกิดโควิด ตลาดหุ้นที่จีนแผ่นดินใหญ่ลบน้อยกว่าเรา เราลบเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นมันสะท้อนเรื่องการกระจาย และถ้าเราไปดูที่ตลาดอเมริกาเอง ซึ่งตลาดทุนโลก หลายคนอยากที่จะไปจดทะเบียนทุนที่นั้นก็เพราะว่า เป็นตลาดที่ใหญ่ก็ย่อมจะดึงดูดให้นักลงทุนเข้าไป ตลาดหุ้นจีนเองก็อยากจะไปจดทะเบียนการลงทุนที่นั้นเช่นกัน”

แนะทำเรื่องเศรษฐกิจให้ง่าย-เข้าถึงประชาชนมากขึ้น

สุดท้ายมุมมองการปรับทีมเศรษฐกิจ เรามียุทธศาสตร์ของประเทศอยู่แล้ว ต้องเข้าใจง่าย ๆ ทำให้ทุก ๆ เดินหน้าไปในสิ่งนั้นได้ ด้วยตัวเองทีละเล็กทีละอย่างไทยแลนด์ 4.0 ประชาชนก็ยังเข้าใจมีไม่เยอะอธิบายไปแล้วก็เข้าไม่ถึง ยังไม่ใกล้ตัว แต่ใช่ทุกคนเดินไปทางนั้นหมด แต่จะทำอย่างไรให้มันง่ายขึ้น อาจจะต้องส่งเสริมให้เด็กได้เรียนสองภาษา เข้าใจในเรื่องของคอมพิวเตอร์ พูดให้ชัดไปเลยว่า เด็กยุคใหม่ต้องทำ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ต้องติดว่าโฉมหน้าของทีมเศรษฐกิจ New Norma ของรัฐบาล ว่าจะมีหน้าตาอย่างไรบ้าง ค่ะวันนี้ไปล่ะค่ะบ๊ายยย

Facebook Comments