วศิน วณิชย์วรนันต์

บลจ.กสิกรไทย แนะผู้ลงทุนจัดพอร์ตรับมือสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังเข้าสู่การคลายล็อคดาวน์ เน้นกระจายลงทุนทั้งในสินทรัพย์เสี่ยงและสินทรัพย์ปลอดภัย โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนกองทุนตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่อง

ส่วนผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูงเป็นจังหวะที่ดีในการเริ่มกลับเข้าลงทุนกองทุนหุ้นอย่าง SSFX รวมถึงกองทุนต่างประเทศที่เน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย มองตลาดยังคงผันผวน โดยมีปัจจัยลบน่าจะอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมากขึ้น และคาดสถานการณ์จะคลี่คลายชัดเจนขึ้นในไตรมาสที่ 3 โดยเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นายวศิน วณิชย์วรนันต์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กสิกรไทย) เปิดเผยว่าแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ตลาดเงินตลาดทุนดูซบเซาลงไปในช่วงที่ผ่านมา แต่ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวมีทิศทางที่ดีขึ้นจากมาตรการของภาครัฐในการควบคุมการแพร่กระจายและการพยุงเศรษฐกิจ

ซึ่งมีแนวโน้มการเปิดเศรษฐกิจและการฟื้นตัวจะเป็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยตลาดเงินตลาดทุนได้มีการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในช่วงที่ผ่านมากว่า 20% โดยรวม ถึงแม้จะมีความผันผวนที่สูงและปัจจัยลบอยู่บ้างแต่คาดว่าจะเป็นไปอย่างจำกัดมากขึ้น

อิป้าหามาเล่าดังนั้น บลจ.กสิกรไทย จึงแนะนำให้ผู้ลงทุนมองเป้าหมายการลงทุนในระยะยาว โดยให้ผู้ลงทุนจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้ เน้นกระจายลงทุนในกองทุนหลากหลายประเภทสินทรัพย์ ทั้งกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยง และกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อให้สินทรัพย์แต่ละประเภททำหน้าที่สร้างผลตอบแทนในภาวะตลาดเช่นนี้

นายวศินกล่าวต่อไปว่า สำหรับกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย ผู้ลงทุนสามารถพิจารณากองทุนตราสารหนี้ โดยบลจ.กสิกรไทย แนะนำกองทุนเปิดเค บริหารเงิน (K-CASH) ซึ่งจะเน้นเรื่องสภาพคล่องสูงและมีความผันผวนต่ำ หรือหากต้องการผลตอบแทนที่มากขึ้นแต่จะมีความผันผวนเพิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย แนะนำกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ พลัส (K-FIXEDPLUS)

ส่วนผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้มาก และต้องการจับจังหวะในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวลง ก็สามารถเพิ่มสัดส่วนในกองทุนหุ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนรวมเพื่อการออมแบบพิเศษ (SSFX) อย่างกองทุนเปิดเคซูเปอร์สตาร์ เพื่อการออมพิเศษ (K-SUPSTAR-SSFX) ซึ่งนอกจากจะได้ลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำที่มีความมั่นคงสูงเพื่อโอกาสทำกำไรในระยะยาวแล้ว ผู้ลงทุนยังจะได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนบาท โดยลงทุนได้ถึงวันที่ 30 มิ.ย.นี้เท่านั้น

สำหรับกองทุนต่างประเทศ แนะนำกองทุนเปิดเค โกลบอล อินคัม (K-GINCOME) ที่เน้นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก และปรับสัดส่วนให้สอดรับกับภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป และกองทุนเปิดเค ไชน่า คอนโทรล โวลาติลิตี้ (K-CCTV) ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศจีนซึ่งได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) และมีการปรับสัดส่วนการลงทุนอยู่ตลอดเวลาเพื่อลดความผันผวนของกองทุน ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าในระยะสั้นตลาดยังมีความผันผวนอยู่สูง โดยเฉพาะสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น แต่คาดว่าปัจจัยลบในช่วงที่ผ่านมาจะมีผลอย่างจำกัดมากขึ้น

“บลจ.กสิกรไทย ประเมินว่าภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ว่าจะคลี่คลายได้เร็วเพียงใด ซึ่งคาดการณ์ไว้ไม่เกินไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

โดยหากควบคุมได้ภายในไตรมาสที่ 2 มองว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาได้ภายในครึ่งปีหลัง ถึงแม้มีลักษณะเป็น U-Shape Recovery ที่ฟื้นตัวกลับมาอย่างช้าๆ เนื่องจากภาครัฐและธนาคารกลางทั่วโลกต่างเร่งดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อเสริมสภาพคล่องรวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายการคลัง

อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนยังคงต้องติดตามปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ได้แก่ ยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัส ระยะเวลาและความเข้มงวดของมาตรการ Lockdown จากภาครัฐ รวมถึงประสิทธิภาพจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากภาครัฐและธนาคารกลาง” นายวศินกล่าว

นายวศินกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจของไทยยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 เป็นปัจจัยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับต่ำสุด

และคาดว่ามีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25% เพื่อเสริมสภาพคล่องและสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดตราสารหนี้ ด้านตลาดหุ้นไทยภายหลังจากที่ตลาดได้มีการปรับตัวขึ้นมากว่า 20% จากจุดต่ำสุด

ในขณะที่มีการปรับคาดการณ์ผลกำไรบริษัทจดทะเบียนลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ลงทุนยังคงต้องระมัดระวังกับความผันผวนในระยะสั้น โดยบลจ.กสิกรไทย มองว่าหากตลาดมีการปรับตัวลง ถือเป็นโอกาสในการเข้าลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาว

ทั้งนี้ คาดดัชนีปลายปีแตะ 1,350 จุด บนสมมติฐานว่าสถานการณ์ COVID-19 สามารถควบคุมได้ภายในไตรมาสที่ 2 สะท้อน Forward P/E ปี 2564 ที่ 15 เท่า โดยคาดการณ์การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2563 จะติดลบจากปีก่อนหน้าประมาณ 20% และจะสามารถกลับมาเติบโตได้เป็นปกติในปี 2564

Facebook Comments