น้ำมัน

มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า ยังอยู่ในช่วงน้ำมันขาลง พวกเล่นกองทุนน้ำมันน่าจะอ่วมหนักเลยนะเจ้าคะ วันนี้ดั๊นจะไปส่องหุ้นกลุ่มที่ส้มหล่นรับอานิสงส์ น้ำมันถูกกว่าน้ำเปล่า! กันค่ะ

โดยราคาน้ำมันที่ลดลงมารอบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค.63 ที่ผ่านมา ซึ่งจะเทียบกับ ศุกร์ที่ 13 มีนาคม 63 ซึ่งเป็นวันที่ดัชนี SET ทรุดไปแตะที่ 969.08 จุด (ต่ำสุดรอบ 9 ปี) ค่ะ

1.TASCO (บมจ.ทิปโก้แอสฟัลท์) รีบาวด์ขึ้นมา 9.30%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 17.20 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 18.80 บาท เพิ่มขึ้น 1.60 บาท หรือ 9.30%

TASCO ตัวนี้ผลิตยางมะตอยเป็นหลัก (ต้นทุนกว่า 90% มาจากการนำเข้าน้ำมันดิบ) เมื่อต้นทุนถูกลงผลประกอบการน่าจะดีค่ะ

2.TOA (บมจ.ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย)) รีบาวด์ขึ้นมา 18.25%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 31.50 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 37.25 บาท เพิ่มขึ้น 5.75 บาท หรือ 18.25%

อยู่ในลุ่มที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและเม็ดพลาสติก ซึ่งน้ำมันลดลงจะกดดันให้เม็ดพลาสติกถูกลงตามไปด้วย

3.SCC (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย) รีบาวด์ขึ้นมา 15.49%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 284.00 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 328.00 บาท เพิ่มขึ้น 44.00 บาท หรือ 15.49%
ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลง เพราะ SCC กำไรมาจากธุรกิจปิโตรเคมีเกือบ 70% ขณะที่ราคาเม็ดพลาสติกยังค่อนข้างทรงตัว

4.EPG (บมจ.อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป) รีบาวด์ขึ้นมา 28.80%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 3.68 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 4.74 บาท เพิ่มขึ้น 1.06 บาท หรือ 28.80%

น้ำมันที่ปรับตัวลดลงมาจะส่งผลบวก จากต้นทุนปิโตรเคมีซึ่งเป็นหนึ่งในต้นทุนหลักจะลดต่ำลงมาด้วย

5.GULF (บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์) รีบาวด์ขึ้นมา 43.91%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 135.50 บาท (แตกพาร์แล้วเหลือ 27.10 บาท) ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 39.00 บาท เพิ่มขึ้น 11.10 บาท หรือ 43.91%

ผู้ผลิตไฟฟ้า SPP ต้นทุนหลักกว่า 70% มาจากก๊าซธรรมชาติซึ่งเชื่อมโยงกับน้ำมัน

6.GPSC (บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่) รีบาวด์ขึ้นมา 38.64%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 51.75 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 71.75 บาท เพิ่มขึ้น 20.00 บาท หรือ 38.64%

หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้า SPP ที่มีกำไรเด่นสุดในกลุ่มโรงไฟฟ้าเป็นหุ้น Defensive ฐานะการเงินแกร่ง

7.BGRIM (บมจ.บี.กริม เพาเวอร์) รีบาวด์ขึ้นมา 26.89%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 36.25 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 46.00 บาท เพิ่มขึ้น 9.75 บาท หรือ 26.89%

ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จากต้นทุนลงเร็วกว่ารายได้

8.CPALL (บมจ.ซีพี ออลล์) รีบาวด์ขึ้นมา 6.88%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 61.75 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 66.00 บาท เพิ่มขึ้น 4.25 บาท หรือ 6.88%

ต้นทุนการใช้พลังงานลดลง ส่งผลให้การบริโภคมากขึ้น จากกำลังซื้อที่จะเพิ่มขึ้น

9.BJC (บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์) รีบาวด์ขึ้นมา 28.03%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 33.00 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 42.25 บาท เพิ่มขึ้น 9.25 บาท หรือ 28.03%

ต้นทุนการขนส่งที่จะปรับลดลง บวกมาตราการกระตุ้นรัฐบาล

10.OSP (บมจ.โอสถสภา) รีบาวด์ขึ้นมา 18.30%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 35.50 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 42.00 บาท เพิ่มขึ้น 6.50 บาท หรือ 18.30%

OSP น้ำมันลง น้ำตาลและต้นทุนการขนส่งที่จะปรับลดลง

11. CK (บมจ.ช.การช่าง) รีบาวด์ขึ้นมา 22.85%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 14.00 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 17.20 บาท เพิ่มขึ้น 3.20 บาท หรือ 22.85%

-CK ตัวจิ๊ด กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งได้อานิสงส์จากราคาเหล็กและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง

12.ITD (บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์) รีบาวด์ขึ้นมา 35.63%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 0.87 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 1.18 บาท เพิ่มขึ้น 0.31 บาท หรือ 35.63%

อานิสงส์จากราคาเหล็กและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง

13.STEC (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น) รีบาวด์ขึ้นมา 33.03%

วันที่ 13 มี.ค.63 ปิดที่ 11.20 บาท ขณะวันที่ 22 เม.ย.63 ปิด 14.90 บาท เพิ่มขึ้น 3.70 บาท หรือ 33.03%

อานิสงส์จากราคาเหล็กและวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวลดลง และเจ้าของตัวจริงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดวงจรอำนาจปัจจุบัน

ทั้งนี้ “ราคาน้ำมันที่ลดลงมารอบนี้เกิดขึ้น มี.ค.63 ผลบวกที่จะเกิดขึ้นก็จะทยอยรับรู้ในช่วง 1-2 เดือน เพราะในช่วงแรกยังมีสต๊อกน้ำมันเดิมที่ราคาสูงอยู่” (อ้างอิง บล.กสิกรไทย)

อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มสายบินที่ได้รับประโยชน์จากน้ำมันที่ถูกลงนะคะ แต่ไม่ได้เอามารวมด้วย วันนี้ไปล่ะค่ะ บ๊ายย

Facebook Comments