มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า ท่ามกลางการแย่งชิง “เก้าอี้” ผู้ทรงเกียรติ ชามข้าวคว่ำไปมาหลายตลบ ยิ่งเฉพาะกระทรวง “ใบหูกวาง” ที่ใครๆก็ต่างหมายปอง ถูกชูคอหามเสลี่ยงจัดลำดับเป็น ขุมทองเกรด A+ ฉะนั้นแล้วจะไปดูว่า “คมนาคม” นั้น โยงใยสัมพันธ์กับหุ้นตัวไหน กลุ่มไหนกันบ้างนะคะ

1.ขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) ความสัมพันธ์กับกระทรวงคมนาคม จะเป็นในรูปแบบการจ้างงานผ่านการประมูลโครงการต่างๆ ลักษณะเป็นสัมปทานกับรัฐ รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจบางส่วนต้องได้รับการอนุมัติจากกรมหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวง เช่นเส้นทางการบิน เส้นทางเดินเรือ เส้นทางเดินรถ

โดยกลุ่มนี้ มูลค่าตลาดรวม 3,293,854.93 ล้านบาท ในตารางมี 22 ตัว 3 ตัวใหญ่สุด (มาร์เกตแคปเกิน 1 แสนล้านบาท) คือ AOT (บมจ.ท่าอากาศยานไทย) , BEM (บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ) , BTS (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์)

ส่วนถ้าแบ่งตามลักษณะการขนส่ง บก-อากาศ-น้ำ แยกย่อยเป็นดังนี้ค่ะ

  • ขนส่งทางบก(ถนน) ได้แก่ BEM (บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ) BTS (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) BTSGIF (กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท) TSTE (บมจ.ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล )TFFIF (กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย) และธุรกิจคลังสินค้า KWC (บมจ.กรุงเทพโสภณ)
  • ขนส่งทางอากาศ ได้แก่ AAV (บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น) AOT (บมจ.ท่าอากาศยานไทย) BA (บมจ.การบินกรุงเทพ ) NOK (บมจ.สายการบินนกแอร์ ) THAI (บมจ.การบินไทย )
  • ขนส่งทางเรือ ได้แก่ ASIMAR (บมจ. เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์) JUTHA (บมจ.จุฑานาวี) PRM (บมจ.พริมา มารีน) PSL (บมจ.พรีเชียส ชิพปิ้ง) NYT (บมจ.นามยง เทอร์มินัล) RCL (บมจ.อาร์ ซี แอล) TTA (บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์) WICE (บมจ.ไวส์ โลจิสติกส์)
  • บริการโลจิสติกส์ครบวงจร ได้แก่ B (บมจ.บี จิสติกส์) III (บมจ.ทริพเพิล ไอ โลจิสติกส์) JWD (บมจ. เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์)

2.บริการรับเหมาก่อสร้าง (CONS) ความสัมพันธ์กับกระทรวงคมนาคม จะเป็นในรูปแบบการจ้างงานผ่านการประมูลโครงการต่างๆ ลักษณะเป็นสัมปทานกับรัฐ

กลุ่มนี้ มูลค่ารวมตลาด 689,228.91 ล้านบาท มี 20 ตัวในตาราง มี 7 ตัวใหญ่ (มาร์เกตแคปเกิน 5,000 ล้านบาท) คือ CK (บมจ.ช.การช่าง ), STEC (บมจ.ซิโน-ไทย) , UNIQ (บมจ.ยูนิค) , ITD บมจ.อิตาเลียนไทย) , STPI (บมจ.เอสทีพี แอนด์ ไอ) , SEAFCO (บมจ.ซีฟโก้) , TTCL (บมจ.ทีทีซีแอล)

-เช่น ซิโน-ไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2546 – 10 มิ.ย. 2562 พบว่า บมจ.ซิโน-ไทย เป็นคู่สัญญากับกระทรวงคมนาคม ทั้งสิ้น 42 สัญญา วงเงิน 41,324,885,870 บาท หากนับเฉพาะในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค. 2557 – 10 มิ.ย. 2562) เป็นคู่สัญญารวม 12 สัญญา วงเงิน 27,277,517,688 บาท (ราว 2.77 หมื่นล้านบาท)….(อ้างอิงเว็บสำนักข่าวอิศรา 10 มิ.ย.62 )

3.พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) ความสัมพันธ์กับกระทรวงคมนาคม ลักษณะคือ ถ้าบริษัทอสังหาใด สามารถล่วงรู้ข้อมูล “อินไซด์” ในอนาคตจะมีเส้นทางคมนาคมใดตัดผ่านในพื้นที่ไหน ก็สามารถไปซื้อที่ดินเก็งกำไรได้

กลุ่มนี้ มูลค่ารวมตลาด 4,659,266.06 ล้านบาท มี 56 ตัวในตาราง มี 9 ตัวใหญ่ (มาร์เกตแคปเกิน 3 หมื่นล้านบาท) CPN (บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา) LH (บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์) WHA (บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น) SPALI (บมจ.ศุภาลัย ) PSH (บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง) MBK (บมจ.เอ็ม บี เค) FPT (บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้) QH (บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์) และ BLAND (บมจ.บางกอกแลนด์)

และถ้ารวม 3 กลุ่ม มูลค่าตลาด รวม 8,642,349 ล้านบาท

ไปดูข้อมูล กระทรวงกันหน่อยคะ

คมนาคมแบ่งหน่วยงานออกเป็น 4 กรม 14 รัฐวิสาหกิจ โดยส่วนราชการ มี 1.สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม 2.กรมเจ้าท่า 3.กรมการขนส่งทางบก 4.กรมท่าอากาศยาน 5.กรมทางหลวง 6.กรมทางหลวงชนบท 7 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

รัฐวิสาหกิจ มี 14 แห่ง คือ 1.การรถไฟแห่งประเทศไทย 2.การท่าเรือแห่งประเทศไทย 3.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 4.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 5.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 6.สถาบันการบินพลเรือน 7.บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 8.บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด 9.บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์ เอเชีย จำกัด 10.บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด 11.บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด 12.บริษัท ขนส่ง จำกัด และจดทะเบียนในตลาดฯ 2 แห่ง คือ13.บมจ.การบินไทย 14.บมจ.ท่าอากาศยานไทย

เกร็ด เกี่ยวกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย

1.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็นลำดับ ที่ 50 และถ้าตามโผ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ จะเป็นลำดับ 51 และจะเป็นภูมิใจไทยคนที่ 2 ที่ได้คุมกระทรวงนี้ ต่อจากนายโสภณ ซารัมย์ (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

2.ที่ผ่านมามี ว่าการคมนาคม ได้เป็นนายกฯ 3 คน คือพันตรีควง อภัยวงศ์ อดีตนายกฯ คนที่ 4 ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าประชาธิปัตย์คนแรก , สมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯ คนที่ 25 ,บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกฯคนที่ 21

3.พลตรีพงษ์ ปุณณกันต์ (ลำดับที่ 21) เป็นปู่ของ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ แกนนำพรรคพลังประชารัฐในปัจจุบัน

4.ร้อยตำรวจเอกสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (ลำดับที่ 25) ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประธานกรรมการบริษัท โอสถสภา จำกัด กลุ่มบริษัทในเครือโอสถสภา

5.ท่านผู้หญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ (ลำดับที่ 28) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหญิงคนแรกของไทย อดีตประธานกิตติมศักดิ์ บริษัท โรงแรมปาร์คนายเลิศ จำกัด , อดีตเจ้าของโรงแรมสวิสโซเทลปาร์คนายเลิศ

6.วิชิต สุรพงษ์ชัย (ลำดับที่37) อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารรัตนสิน ธนาคารกรุงเทพ ปัจจุบันเป็นนายกกรรมการ ธนาคารไทยพาณิชย์

7.สุวัจน์ ลิปตพัลลภ (ลำดับที่39) ครอบครัวทำธรกิจก่อสร้างชื่อดัง “บริษัทประยูรวิศว์การช่าง”

8.สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (ลำดับ ที่41) มีธุรกิจครอบครัว บริษัทในเครือ ซัมมิท

และนี้เป็นเรื่องราวบางส่วนของกระทรวงคมนาคม กับหุุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ คะ เด่ววันหนัาจะไปดูด้านอื่นๆกันนะคะ …วันนี้ไปละคะ บ๊ายย

Facebook Comments