กระทรวงการคลัง

มาแล้วค่ะอิป้าหามาเล่า วันนี้จะเหลาชีวิตคนดังในช่วงนี้นะคะ ว่ากันว่า (ใครก็ไม่รู้ อิอิ…) 2 คนนี้เป็นตัวเต็งที่จะเข้าชิงเป็นขุนคลังคนใหม่ หลังมีการปรับครม. ลองไปดูโปรโฟล์ คอนเน็คชั่นแต่ละคนกันค่ะ

-คนแรก ศาตราภิชาน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล วัย 68 ปี ประธานกรรมการ CRC (บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น) , ประธานกรรมการบริษัท PSH (บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง) และ กรรมการอิสระ SCC (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด)

-จบโรงเรียนอัสสัมชัญ เข้าเรียน วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาไฟฟ้า (เกียรตินิยมอันดับ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2513 (วศ. 2513) จบปี 2517 และได้รับพระราชทานทุนจากมูลนิธิอานันทมหิดล ไปเรียนด้านการบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา จนได้ปริญญาเอกปี 2524

-สมัยที่เขาเป็นนายกสโมสรนิสิต จุฬาฯ ผู้ทำหน้าที่เจรจากับรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร ให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องหา 13 คนในเหตุการณ์ ‘14 ตุลา 2516’ (อ้างอิง optimise.kiatnakinphatra)

-เพื่อนร่วมรุ่นวิศวะ จุฬาฯ เช่น วิเศษ ชำนาญวงษ์ อดีตผู้ว่าการ การประปาส่วนภูมิภาค, นายอาทร สินสวัสดิ์ อดีตผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง ,รศ.ดร. บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ ประธานกรรมการ QH (บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์)

-ผ่านงานสำคัญมากมายเช่น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(2553-2558) , รองประธานกรรมการ บริษัท เมืองไทย กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด, รองประธานกรรมการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด, ประธานกรรมการ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด, ประธานกรรมการ บริษัท แฟคเตอริ่งกสิกรไทย จำกัด, กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

-ดร.ประสาร เคยสร้างประวัติศาสตร์เป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. ที่มีอายุน้อยที่สุด ในวัย 47 ปี เพราะตั้งแต่กลับมาทำงานใช้ทุน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประสารได้อยู่ในสายงานกำกับ และตรวจสอบ ซึ่งเป็นสายงานเดียวกับเอกกมล คีรีวัฒน์ เลขากลต.คนแรก มาเกือบตลอด ต่อมา เอกกมลดึงประสารออกจากแบงก์ชาติ มารับตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.ล.ต.เมื่อปี 2535 และกลายเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต.ในที่สุด (อ้างอิง info.gotomanager)

-สมัยที่เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้บริหารที่ถูกมองว่ามีบุคลิกเรียบร้อยอ่อนน้อม ถ่อมตน น้ำเสียงของเขาเมื่อยาม สนทนาจะนุ่มนวลชนิดที่เรียกว่า “บัวไม่ให้ ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น” จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาถูกรับเลือกเข้ามานั่งในตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติ ผสมผสานกับฝีมือที่ร่วมงานทั้ง 2 ด้าน ในส่วนภาครัฐและเอกชน (อ้างอิง info.gotomanager)

-กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะน้ัน ให้เหตุผลที่เลือกประสารเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติในเฟซบุ๊กของเขาไว้ถึง 13 เหตุผลถึงความเหมาะสม เช่น ความซื่อสัตย์ สุจริตที่ไม่เคยมีที่ตำหนิ ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และของโลก ประสบการณ์ในการบริหารองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความรู้ และ เป็นคนดี มีจริยธรรม และจิตสำนึกอันงาม

ขณะที่บัณฑูร ล่ำซำ ในฐานะร่วมงานกับประสารในธนาคารกสิกรไทยกล่าวถึงประสารไว้ว่า “ในส่วนตัวผมได้ร่วมงานกับคุณประสารมากว่า 6 ปี เป็นเพื่อนร่วมคิด ร่วมงานได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าความรู้ของคุณประสารในภาครัฐและเอกชนตลอดชีวิตการทำงาน บวกกับวิสัยทัศน์และความดี จะสามารถทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี เป็นประโยชน์ ต่อประเทศมหาศาล”

-ประสาร เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากนิตยสารผู้จัดการ 360 เมื่อ ปี 2544 ให้เป็น Role Model ทั้งจากการโหวตของผู้อ่าน และซีอีโอบริษัทต่างๆ ด้วยเหตุว่าเป็น “คนเก่งและคนดี”(อ้างอิง Optimise Magazine)

-ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ CEO ปตท.ปี 2554 เลือกให้ประสารเป็น Role Model เพราะเป็นบุคคลมีความรู้ความสามารถในด้านธุรกิจ การเงิน และน่านับถืออย่างแท้จริง มีประวัติการทำงานที่ดีและโปร่งใส (อ้างอิง info.gotomanager.com)

คอนเน็คชั่น ผ่านหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน(ปรอ.) รุ่นที่ 15 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เพื่อนร่วมรุ่น เช่น ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม , นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

คนต่อมาคือ “ไพรินทร์ ชูโชติถาวร” อายุ 64 ปี ปัจจุบันป็นที่ปรึกษานายกฯ และประธานกรมการ GPSC (บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่) ,กรรมการอิสระ SCB (ธนาคารไทยพาณิชย์)

อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัยแรก (30 พ.ย. 2560 – 16 ก.ค.2562) อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT (บมจ.ปตท.) อดีตกรรมการ PTTEP (บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ IRPC (บมจ.ไออาร์พีซี)

-ไพรินทร์ เรียนแก่งมั๊ก ๆ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (วศ.2518) (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) ปริญญาโท และปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

-ไพรินทร์ จบวิศวะ จุฬาน รุ่นเดียวกับ บุญทักษ์ หวังเจริญ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีกรรมการบริษัทการบินไทย , นายสรัญ รังคสิริ อดีตประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท.

-ไพรินทร์ หลังจบการศึกษา เป็นอาจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ จากนั้นเข้าทำงานที่ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (บริษัทที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเพื่อนำโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตเคมีของประเทศจากวัตถุดิบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ขุดค้นพบจากอ่าวไทย) และธนาคารกรุงเทพ จำกัด

-สายสัมพันธ์ ชาตรี โสภณพนิช แห่งธนาคารกรุงเทพ และปิโตรเคมีคอมเพล้กซ์ โดยชาติศิริ โสภณพนิช เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงเทพในปี 2529 ดูแลงานหลายด้าน รวมทั้งวาณิชธนกิจ เขาระดมทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมีไว้มากที่สุดในเวลานั้นถึง 20 คน ด้วยการซื้อตัวมาจากที่ต่าง ๆ รวมทั้งทีมงานที่มี ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ และดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร จากปิโตรเคมีแห่งชาติด้วย ” (อ้างอิง วิรัตน์ แสงทองคำ)

“การเป็นอาจารย์อาจจะไม่ค่อยตรงกับบุคลิกของผมเท่าไหร่ ผมอยากจะทำงานที่มันเพิ่มคุณค่าให้มากกว่า และก็เห็นรัฐบาลกำลังมีแผนจะพัฒนาอุตสาหกรรมเปโตเคมีจากก๊าซธรรมชาติที่ขุดค้นพบ จะลงทุนด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานนับเป็นหมื่น ๆ ล้าน เพื่อที่จะรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ ผมก็สนใจ เพราะเป็นสิ่งที่ผมได้เรียนมาโดยตรงด้วย” (อ้างอิง info.gotomanager.com)

-ประสบการณ์ช่วงยาวนานช่วงหนึ่งที่ธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ศึกษา วิจัย ให้คำปรึกษา จนถึงมีบทบาทการก่อตั้งบริษัทบากกอกโพลีเอททีลีน ซึ่ง ดร.ไพรินทร์เองเข้ามาบริหารตั้งแต่ต้น ในตำแหน่งรองงฃกรรมการผู้จัดการ รักษาการกรรมการผู้จัดการ จนถึงดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการรวมกันแล้วมากกว่า 10 ปี ถือเป็นประสบการณ์บริหารธุรกิจปลายน้ำที่คุ่มค่า (อ้างอิง วิรัตน์ แสงทองคำ)

-สมัยชิงตำแหน่ง CEO ปตท. คนที่ 7 (นายนริศ ชัยสูตร เป็นรักษาการประธานกรรมการ ปตท.) ไพรินทร์ ชิงดำกับเทวินทร์ วงศ์วานิช (ต่อมากลายเป็น CEO ปตท. คนที่ 8) นั้นถือว่าคู่คีสู่สี โดยวิรัตน์ แสงทอง คำนักเขียนดังเคยบรรยายายไว้ว่า “การตัดสินใจเลือก ดร.ไพรินทร์ ถือเป็นการพลิกความคาดหมายของในวงการอยู่บัาง แต่เขาเป็นผลผลิตจากปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ของไทยในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ถือว่ามีประสบการณ์กว้างและลึกมากคนหนึ่ง จากยุคร่างพิมพ์เขียว มาถึงยุคหลอมรวมครั้งใหญ่ในประเทศ และกำลังขยายตัวก้าวสู่ระดับภูมิภาค”

-ไพรินทร์ มีคอนเน็คชั่น ผ่านหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.รุ่นที่ 22) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เพื่อนร่วมรุ่น เช่น พล.อ. กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี นายเทพไท เสนพงศ์ นักการเมืองค่ายปชป., นาย เทวินทร์ วงศ์วานิช CEO ปตท. คนที่ 8 , นาย ปฏคิม วงษ์สุวรรณ น้องชายผู้มีอำนาจในขณะนี้

-หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง ด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.) รุ่นที่ 1 เพื่อนร่วมรุ่น เช่น นายกานต์ ตระกูลฮุน อดีตบอสปูนซิเมนต์ไทย, นายวศิน วณิชย์วรนันต์นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ,นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคม สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน,นายสารัชถ์ รัตนาวะดี บอสกัลฟ์ , คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ประธานยุทธศาสตร์ เพื่อไทย , อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายก-รมว.สาธารณะสุข

-หลักสูตรผู้บิรหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 8 (วตท. 8) เพื่อนร่วมรุ่น เช่น กิตติรัตน ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง , ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เสนาดีเวลลอปเม้นท์ , จตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ ทีโอเอ , จตุนันท์ ภิรมยภ์กดี บุญรอดบริวเวอรี่ ,นวลพรรณ ล่ำซำ เมืองไทยประกันภัย ,ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 นี้ ถือเป็นบุคคลคุณภาพทั้งคู่ เพียงแต่ว่าใครจะเหมาะกับขุนคลังมากกว่ากัน ต้องอดรอสักนิ๊สค่ะ…วันนี้ไปล่ะค่ะ บ๊ายย

Facebook Comments