epahamalao

พอร์ตหุ้น GIC (กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์) 20 หลักทรัพย์ มูลค่า 5.2 หมื่นล้านบาท

หุ้น GIC

มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า วันนี้จะพาไปยลพอร์ตหุ้น กองทุนรัฐบาลสิงคโปร์ หรือ GIC Private Limited ซึ่งมีชื่อเดิมว่า Government of Singapore Investment Corporation

จากข้อมูลของ Straits Times เปิดเผยว่า GIC เป็นกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก มีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) ราว 4.40 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13 ล้านล้านบาท

โดย GIC ลงทุนในสหรัฐมากที่สุดคิดเป็น 34% ของสัดส่วนการลงทุนทั้งหมด ตามด้วยเอเชียที่ไม่รวมญี่ปุ่น 19% ยุโรป (12%) ญี่ปุ่น (12%) และอังกฤษ (6%)…(อ้างอิง stockradars)

ขณะนี้ GIC มีมูลค่าพอร์ตประมาณ 52,175,286,773 บาท (5.2 หมื่นล้านบาท) กระจายอบู่ใน 20 หลักทรัพย์

1.CPALL (บมจ.ซีพี ออลล์) มูลค่า 9,509,784,975 บาท

ถืออันดับ 7 (1.79%)เพิ่มจาก ปี 61 ถือ 1.12%

2.PTT (บมจ.ปตท.) มูลค่า 7,225,396,200 บาท

ถืออันดับ 9 (0.77%) เพิ่มจาก ปี 61 ถือ 0.83%

3.CPF (บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร) มูลค่า 7,142,589,480 บาท

ถืออันดับ 5 (3.19%) ลดลงจากปี 2561 ถือ 4.00%

4.AWC (บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป) มูลค่า 6,122,125,152 บาท

ถืออันดับ 5 (5.76%) ลดลงจาก มี.ค.63 ถือ 7.08%

5.ADVANC (บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส) มูลค่า 4,065,001,200 บาท

ถืออันดับ 7 (0.78%) เพิ่มจาก ส.ค.62 ถือ 0.69%

6.BDMS (บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ) มูลค่า 2,887,495,620 บาท

ถืออันดับ 20 (0.98%) ลดจาก ก.ย. 62 ถือ 1.07%

7.SCB (บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์) มูลค่า 2,684,354,550 บาท

ถืออันดับ 10 (1.23%) เพิ่มจาก ปี 61 ถือ 1.15%

8.KBANK (บมจ.ธนาคารกสิกรไทย) มูลค่า 2,288,593,800 บาท

ถืออันดับ 10 (1.31%) ลดลงจาก ปี 61 ถือ 1.65%

9.PTTGC (บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล) มูลค่า 1,690,650,761 บาท

ถืออันดับ 10 (0.90%) เพิ่มขึ้นจาก ปี 61 ถือ 0.71%

10.TU (บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป) มูลค่า 1,437,836,400 บาท

ถืออันดับ 12 (1.98%) เพิ่มจาก ปี 61 ถือ 1.14%

11.BH (บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์) มูลค่า 1,203,486,989 บาท

ถืออันดับ 8 (1.59%) ลดลงจาก ปี 61 ถือ 1.63%

12.BAM (บมจ.บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์) มูลค่า 1,013,528,000 บาท

ถืออันดับ 3 (1.57%) ลดลงจาก เม.ย.63 ถือ 1.69%

13.MINT (บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล) มูลค่า 987,508,272 บาท

ถืออันดับ 13 (1.02%) เพิ่มขึ้นจาก มิ.ย. 63 ถือ 0.71%

14.MAJOR (บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป) มูลค่า 855,820,450 บาท

ถืออันดับ 3 (6.60%) เพิ่มจากปี 2561 ถือ 4.02%

15.TOP (บมจ.ไทยออยล์) มูลค่า 764,215,200 บาท

ถืออันดับ 7 (1.04%) เพิ่มจากปี 2561 ถือ 0.72%

16.BTS (บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) มูลค่า 739,120,305 บาท

ถืออันดับ 18 (0.60%) ลดลงจาก ก.ค. 62 ถือ 0.81%

17.TMB (บมจ.ธนาคารทหารไทย) มูลค่า 707,782,403 บาท

ถืออันดับ 9 (0.87%) เพิ่มจาก ปี 62 ถือ 0.52%

18.LH (บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์) มูลค่า528,830,560 บาท

ถืออันดับ 12 (0.65%) ลดจาก ปี 62 ถือ 8.01%

19.SHREIT (ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แบบต่ออายุได้เพื่อธุรกิจโรงแรมและสิทธิการเช่าสตราทีจิก ฮอสพิทอลลิตี้) มูลค่า 262,253,696 บาท

ถืออันดับ 2 (19.46%) ลดลงจาก ปี 61 ถือ 19.84%

20.FUTUREPF (กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค) มูลค่า 58,912,761 บาท

ถืออันดับ 25 (0.59%) ลดลงจาก ปี 61 ถือ 0.62%

อย่างไรก็ตาม กองทุนระดับโลกแบบนี้ถ้ามีการเคลื่อนไหวต่อหุ้นตัวไหนแบบเป็นพิเศษก็อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนบ้างค่ะ วันนี้ไปล่ะค่ะ บ๊ายย

Facebook Comments
Skip to toolbar