epahamalao

7 เรื่องเด็ด PTTEP 27 ปี ในตลาดหุ้น!

PTTEP

มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า วันนี้ชวนมาร่วมฉลอง HBD หุ้นดังอีกหนึ่งตัวนะคะ นั้นคือ PTTEP (บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) ที่วันนี้ครบ 27 ปีในตลาดหุ้น (เทรดวันแรก 10 มิ.ย.36)

อิป้าเลยจัด 7 เรื่องเด็ด สนุก ๆ ให้อ่านกันเพลินนะคะ

1.ความเป็นมาของ PTTEP

ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของคนไทย ก่อตั้งในวันที่ 20 มิถุนายน 2528 โดย “ปตท.” จัดตั้งปตท.สผ. เพื่อดำเนินการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในฐานะต้นน้ำของวงจรธุรกิจ โดยเริ่มต้นปตท. ถือหุ้น 100% ในปตท.สผ. ต่อมา ปตท.ลดการถือหุ้นลงในปัจจุบันเหลือ 64.79%

“การที่ ปตท.สผ. เข้าตลาดหุ้นในปี 2536 ถือเป็นบทเรียนความสำเร็จสำคัญในการระดมทุนจากตลาดทุน เป็นการชิมลางก่อนปตท.จะเข้าสู่ตลาดหุ้นในเวลาต่อมา”

ปตท.สผ. ดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สหภาพเมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แอลจีเรีย โมซัมบิก ออสเตรเลีย แคนาดา เม็กซิโก บราซิล คาซัคสถาน แองโกลา และโอมาน วันนี้ มีมากว่า 40 โครงการ ใน 15 ประเทศ จากพนักงานเพียงไม่กี่คน สู่กว่า 4,000 ชีวิต

รายได้หลักจะมาจากการขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซแอลพีจี และก๊าซธรรมชาติเหลว โดยขายก๊าซธรรมชาติมากที่สุดที่เหลือป็นน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลว และราคาขายจะอ้างอิงกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

2.เข้าตลาดหุ้น

PTTEP เข้าเทรด 10 มิ.ย. 36 ด้วยราคา IPO 33.00 บาท @พาร์10.00 บาท จากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงพาร์เป็น 5.00 บาท และ 1.00 บาท เมื่อ 24 เม.ย.2549

วิรัตน์ แสงทองคำ เขียนไว้ว่า บทบาทในฐานะบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ปตท.สผ.จึงแสวงหาทางออกด้วยการนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2536 ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่เดียว แต่มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรกล่าวถึงเป็นพิเศษ เกิดขึ้นในปี 2539 แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สัญญาณวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญมาเยือนอย่างชัดเจนแล้ว การ road- show เพื่อขายหุ้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ในช่วงวิกฤติค่าเงินนั้น กลับปรากฏว่าหุ้น ปตท.สผ. ได้รับความสนใจอย่างมาก กลายเป็น Deal ใหญ่ที่สุดที่ประสบความสำเร็จในภาวะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติการณ์

วิเศษ จูภิบาล เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ.ในช่วงนั้น เป็นระยะต่อเนื่องก่อนที่เขาก้าวมาเป็นผู้ว่าการปตท. ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ (2542 – 2544) ในช่วงการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป้นบริษัทจำกัด และกลายเป็นผู้จัดการใหญ่บริษัทปตท. คนแรก (2544 – 2546) ในช่วงนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น และกลายเป็นหุ้นที่มีน้ำหนักมากที่สุดตั้งแต่นั้นมา

3.PTTEP พุ่งเกิน 600 บาท ก่อน แตกพาร์

ในปี 2549 ราคาหุ้น ปตท.สผ. ได้สร้างสถิติราคาสูงสุด 684 บาทต่อหุ้น เนื่องจากได้ปัจจัยข่าวดีทางด้านการเมือง ทำให้นักลงทุนสถาบันและต่างประเทศเข้ามาเก็บหุ้นบลูชิพ ซึ่งรวมทั้งหุ้น ปตท.สผ. ประกอบกับมีการประชุมผู้ถือหุ้น ปตท.สผ. ซึ่งพิจารณาเปลี่ยนมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) จากหุ้นละ 5 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท ซึ่งจะมีผลทำให้จำนวนหุ้นเพิ่มจาก 664.4 ล้านหุ้น เป็น 3,322 ล้านหุ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องโดยปริมาณหุ้น ต่อมา PTTEP แตกพาร์ วันที่ 21 เม.ย.49 ราคาพาร์ใหม่อยู่ที่ 129.60 บาท (อ้างอิง MGR Online)

4.ราคาของ PTTEP หลังแตกพาร์

หลังจากแตกพาร์แล้ว ราคาของ PTTEP มีการเคลื่อนไหวดั้งนี้

2549 ต้นปี 96.00 บาท สิ้นปี 96.50 บาท (สูงสุด 139.00 บาท ต่่ำสุด 76.00 บาท)
2550 ต้นปี 94.50 บาท สิ้นปี 164.00 บาท (สูงสุด 176.00 บาท ต่่ำสุด 85.50 บาท)
2551 ต้นปี 157.00 บาท สิ้นปี 107.00 บาท (สูงสุด 222.00 บาท ต่่ำสุด 74.50 บาท)
2552 ต้นปี 123.00 บาท สิ้นปี 147.00 บาท (สูงสุด 164.00 บาท ต่่ำสุด 80.50 บาท)
2553 ต้นปี 146.00 บาท สิ้นปี 168.00 บาท (สูงสุด 196.50 บาท ต่่ำสุด129.00 บาท)
2554 ต้นปี 167.00 บาท สิ้นปี 168.50 บาท (สูงสุด 199.50 บาท ต่่ำสุด 130.50 บาท)
2555 ต้นปี 175.50 บาท สิ้นปี 164.00 บาท (สูงสุด 187.00 บาท ต่่ำสุด 147.50 บาท)
2556 ต้นปี 166.50 บาท สิ้นปี 166.50 บาท (สูงสุด 174.00 บาท ต่่ำสุด 141.00 บาท)
2557 ต้นปี155.00 บาท สิ้นปี 112.00 บาท (สูงสุด 172.50 บาท ต่่ำสุด 99.75 บาท)
2558 ต้นปี 107.00 บาท สิ้นปี 57.25 บาท (สูงสุด 126.50 บาท ต่่ำสุด 54.25 บาท)
2559 ต้นปี 55.75 บาท สิ้นปี 96.25 บาท (สูงสุด 97.00 บาท ต่่ำสุด 41.25 บาท)
2560 ต้นปี 98.50 บาท สิ้นปี 100.00 บาท (สูงสุด 103.00บาท ต่่ำสุด 82.75 บาท)
2561 ต้นปี 101.50 บาท สิ้นปี 113.50 บาท (สูงสุด 160.00บาท ต่่ำสุด 99.75 บาท)
2562 ต้นปี 112.50 บาท สิ้นปี 124.50 บาท (สูงสุด 138.50บาท ต่่ำสุด 112.00 บาท)
2563 ต้นปี 127.50 บาท วันที่ 5 มิ.ย. 98.75 บาท (สูงสุด 136.00 บาท ต่่ำสุด 50.00 บาท)
(อ้างอิงตัวเลข https://th.investing.com)

4.PTTEP ผูกกับราคาน้ำมันดิบ

ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของ PTTEP อ้างอิงจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งมีความผันผวนที่เกิดจากหลายปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศต่าง ๆ การกำหนดสัดส่วนการผลิตน้ำมันดิบของประเทศในกลุ่มโอเปก แผนการผลิตน้ำมันดิบของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก (สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย) ปริมาณน้ำมันดิบและกำลังการผลิตสำรองในแต่ละประเทศ รวมถึงสภาพภูมิอากาศของโลกที่แปรเปลี่ยนในแต่ละพื้นที่ซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของตลาดในแต่ละฤดูกาล

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาน้ำมันดิบของกลุ่ม PTTEP ทันที ในขณะที่ราคาขายก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ PTTEP จะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบอ้างอิง โดยการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจะมีการปรับราคาเป็นระยะ เช่น ทุก 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน

PTTEP ยังคงมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินสกุลเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากกระแสเงินสดรับจากการขายผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทยังคงรับเป็นสกุลเงินบาท จากการที่คู่ค้าหลักของ PTTEP เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทย (อ้างอิง วิรัตน์ แสงทองคำ )

5.รวมดาวดังในกรรมการบริหาร

PTTEP 3 อันดับผู้ถือหุ้นใหญ่คือ1.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 64.792%. 2.บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 6.19% 3.สำนักงานประกันสังคม 2.02%

คณะกรรมการบริหาร มี นายปรัชญา ภิญญาวัธน์ ประธานกรรมการ และนาย พงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
ส่วนกรรมการ และกรรมการอิสระประกอบด้วยนายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้ตรวจราชการ กระทรวงพลังงาน , นายปิติพันธ์ เทพปฏิมากรณ์ กรรมการ อดีตบอร์การบินไทย , นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร อดีตซีอีโอ ปตท. ,กรรมการการบินไทยมหาดๆ , นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต ,นาย อธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ ของปตท. ,พล.ร.อ. ธนะรัตน์ อุบล อดีตเสนาธิการทหารเรือ

นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ,นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ อดีต บอร์ด ธปท. ,นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,พ.อ.นิมิตต์ สุวรรณรัฐ รองหัวหน้าสำนักงานประธานภารกิจทางการต่างประเทศ ศูนย์ประสานภารกิจทางทหาร สำนักนโยบายและแผน กระทรวงกลาโหม คนสนิทมบิ๊กตู่ ,นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ, นางอังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

โดย ประธานกรรมการได้ค่าตอบแทนปีละ 6 แสนบาท ได้โบนัส 4.9 ล้านบาท ขณะที่กรรมการอื่นส่วนใหญ่ได้ 4.8 แสนบาท โบนัส 3.9 ล้านบาท (อ้างอิง รายงานประจำปี 2562)

6. อดีตหุ้น Blue-chip

“วิบูลย์ พึงประเสริฐ” เจ้าของหนังสือ “คัมภีร์ VI ลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่า” เคยบอกว่า หุ้น PTTEP ธุรกิจไม่ถูกจำกัดผลตอบแทนโดยรัฐบาลแถมธุรกิจยังเติบโตต่อเนื่องแทบไม่เคยเห็นบริษัทมีรายได้ลดลง ข้อดีเหล่านั้นบ่งบอกว่า ธุรกิจนี้ไม่มีคู่แข่ง ถือเป็นงานที่น่าสนใจมาก…นั่งวิเคราะห์หุ้น PTTEP พบว่า หาก 2 โครงการเริ่มส่งเงินเข้าบริษัท ขณะที่อีก 10 ปีข้างหน้า (2545-2554) ราคาน้ำมันมีโอกาสพุ่งขึ้น 10 เท่า จากราคา 20 เหรียญต่อบาร์เรล (ในปี 2545) ฉะนั้นไม่เกิน 10 ปี ราคาหุ้น PTTEP ต้องพุ่งพรวดแน่นอน

“ผมถือหุ้น PTTEP ได้เพียง 6 ปี ราคาน้ำมันทะยานมายืน 140 เหรียญต่อบาร์เรล ราคาหุ้นเด้งจากต้นทุน 110 บาทต่อหุ้น มาอยู่ระดับ 220 บาทต่อหุ้น (คิดจากราคาพาร์ 10 บาท) ผมไม่รีรอรีบขายหุ้น PTTEP ทันที เรียกว่า โกยกำไรเร็วกว่า 4 ปี ได้กำไรจากการขายหุ้น PTTEP ประมาณ 1,000 เปอร์เซ็นต์ นี่ยังไม่นับรวมผลตอบแทนจากเงินปันผลของหุ้น PTTEP ที่ได้มาตลอด 6 ปี เฉลี่ยปีละ 3 เปอร์เซ็นต์ หุ้น PTTEP เพียงตัวเดียว ทำให้พอร์ตของเขาจาก หลักแสน เป็น “หลักสิบล้าน” ในเวลาไม่ถึง 10 ปี (อ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ BIZ Week)

7.รายได้-กำไร-EPS ย้อนหลัง 5 ไตรมาส
รายได้
Q1/62 – 45,233 ล้านบาท
Q2/62 – 49,761 ล้านบาท
Q3/62 – 48,309 ล้านบาท
Q4/62 – 55,897 ล้านบาท
Q1/63- 55,773 ล้านบาท

กำไรสุทธิ
Q1/62 – 12,479 ล้านบาท
Q2/62 – 13,684 ล้านบาท
Q3/62 – 11,018 ล้านบาท
Q4/62 – 11,620 ล้านบาท
Q1/63 – 8,612 ล้านบาท

กำไรต่อหุ้น
Q1/62 – 3.03 บาท
Q2/62 – 3.33 บาท
Q3/62 – 2.67 บาท
Q4/62 – 2.68 บาท
Q1/63 – 2.14 บาท

อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ดูเหมือนว่าหุ้นที่้้อ้างอิงกับราคาน้ำมน จะดี๊ด๊ากันนะคะ วันนี้ไปล่ะค่ะ บ๊ายย

Facebook Comments
Skip to toolbar