epahamalao

หุ้นสัมปทานในทัศนะ “ดร.นิเวศน์”

ดร.นิเวศน์

มาแล้วค่ะ อิป้าหามาเล่า วันนี้จะมาเม้าส์ เรื่องหุ้นสัมปทานที่ช่วงหลัง ๆ เป็นพิมพ์นิยมของนักลงทุนน้อยใหญ่ (รวมดั๊นด้วยอะ อิอิ) โดยมีคมคิดจาก “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ที่เคยเขียนถึงหุ้นสัมปทานไว้อย่างน่าสนใจรวมไปถึงมีทริคเล็ก ๆ สำหรับการเลือกหุ้นสัมปทานด้วยนะคะ (อยู่ท้ายบทความ)

“ดร.นิเวศน์” แยกย่อยหุ้นสัมปทานออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ

1.หุ้นกลุ่มรับสัมปทานเกี่ยวกับโทรคมนาคม

“ดร.นิเวศน์” ยกตัวอย่างเช่นโทรศัพท์ เพราะนี่เป็นกลุ่มที่มีความชัดเจนว่าบริษัทที่จะ “รวย” หรือ “จน” จากรัฐนั้นขึ้นอยู่กับ “ข้อตกลง” หรือสัญญาสัมปทาน หรือในอนาคตอาจจะเปลี่ยนเป็นค่า “ใบอนุญาต” จากกสทช. ว่าบริษัทจะต้อง “จ่าย” เท่าไรในการขายบริการ? และบริษัท “รวยจากรัฐ” มากขึ้นหรือน้อยลง? ราคาหุ้นก็จะสะท้อนตาม

ADVANC (บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส) สิ้นปี 62 ปิดที่ 213.00 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 188.50 บาท ลดลง 24.50 บาท หรือ -11.50%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 156.50 บาท ล่าสุด 188.50 รีบาวด์ขึ้นมา 32.00 บาท หรือ 20.44%

DTAC (บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น) สิ้นปี 62 ปิดที่ 53.25 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 41.50 บาท ลดลง 11.75 บาท หรือ -22.06%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 27.00 บาท ล่าสุด 41.50 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 14.50 บาท หรือ 53.70%

TRUE (บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น) สิ้นปี 62 ปิดที่ 4.60 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 3.70 บาท ลดลง 0.90 บาท หรือ -19.56%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 1.99 บาท ล่าสุด 3.70 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 1.71 บาท หรือ 85.92%

THCOM (บมจ.ไทยคม) สิ้นปี 62 ปิดที่ 3.86 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 3.70 บาท ลดลง 0.16 บาท หรือ -4.14%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 2.14 บาท ล่าสุด 3.70 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 1.56 บาท หรือ 72.89%

2.หุ้นกลุ่มรับสัมปทานเกี่ยวกับไฟฟ้าและน้ำประปา

“ดร.นิเวศน์” บอกว่ากลุ่มนี้ความรวยหรือจนมาจากรัฐเป็นหลัก บริษัทที่จะรวยก็คือบริษัทที่ได้สัญญาขายสินค้าหรือบริการในราคาที่ดี มีกำไรสูง ซึ่งปกติก็มักจะคิดจากต้นทุนการผลิตบวกกำไรที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนเงินทุนในอัตราที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดเวลานั้น

-หุ้นในกลุ่มนี้ก็คือ บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าทั้ง IPP ที่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ และ SPP ที่เป็นขนาดเล็ก รวมไปถึงบริษัทที่ผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนเช่น พลังงานแสงแดดและพลังงานลม ซึ่งบริษัทจะได้ Adder หรือเงินชดเชยที่หน่วยงานรัฐจ่ายให้กับบริษัทตามหน่วยไฟฟ้าที่ขายให้กับรัฐ

GULF (บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์) สิ้นปี 62 ปิดที่ 166.00 บาท (หรือ 33.20 บาท) (22 พ.ค.63) ปิดที่ 39.25 บาท เพิ่มขึ้น 6.05 บาท หรือ 18.22%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 113.00 บาท (หรือ22.60บาท) ล่าสุด 39.25 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 16.65 บาท หรือ 73.67%

BGRIM (บมจ.บี.กริม เพาเวอร์) สิ้นปี 62 ปิดที่ 52.50 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 54.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.50 บาท หรือ 2.85%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 27.25 บาท ล่าสุด 54.00 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 26.75 บาท หรือ 98.16%

GPSC (บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่) สิ้นปี 62 ปิดที่ 85.75 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 77.25 บาท ลดลง 8.50 บาท หรือ -9.91%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 42.75 บาท ล่าสุด 77.25 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 34.50 บาท หรือ 80.70%

EGCO (บมจ. ผลิตไฟฟ้า) สิ้นปี 62 ปิดที่ 328.00 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 261.00 บาท ลดลง 67.00 บาท หรือ -20.42%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 161.00 บาท ล่าสุด 261.00 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 100.00 บาท หรือ 62.11%

RATCH (บมจ.ราช กรุ๊ป) สิ้นปี 62 ปิดที่ 68.75 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 64.75 บาท ลดลง 4.00 บาท หรือ -5.81%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 39.50 บาท ล่าสุด 64.75 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 25.25 บาท หรือ 63.92%

– ในด้านของหุ้นสัมปทานน้ำก็คือ บริษัทที่ผลิตน้ำประปาขายให้กับการประปาภูมิภาคและหน่วยงานอื่น ๆ

EASTW (บมจ.จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก) สิ้นปี 62 ปิดที่ 11.00 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 10.00 บาท ลดลง 1.00 บาท หรือ -9.09%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 8.60 บาท ล่าสุด 10.00 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 1.40 บาท หรือ 16.27%

TTW (บมจ.ทีทีดับบลิว) ผลิตและจ่ายน้ำประปาให้การประปาส่วนภูมิภาค สิ้นปี 62 ปิดที่ 13.80 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 13.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท หรือ 0.72%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 11.50 บาท ล่าสุด 13.90 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 2.40 บาท หรือ 20.86%

3.หุ้นกลุ่มรับสัมปทานเกี่ยวกับคมนาคม

“ดร.นิเวศน์” บอกว่ากลุ่มนี้ เช่น ทางด่วน รถไฟฟ้า สนามบิน บริษัทที่ได้สัมปทานหรือบริษัทที่ได้สิทธิในการดำเนินการจากรัฐในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ บริษัทในกลุ่มนี้เป็นธุรกิจที่รับเงินจากผู้ใช้โดยมีหน่วยงานรัฐเป็นผู้กำกับหรืออนุมัติ ดังนั้นการตั้งราคาโดยอำเภอใจจึงไม่สามารถทำได้ การปรับราคาเองก็มักจะทำไม่ได้ง่ายเพราะจะกระทบกับ “ประชาชน”

-การลงทุนในการขยายกำลังการผลิตหรือการให้บริการก็มักจะมีต้นทุนที่สูงขึ้นหรือไม่ต่ำลง นี่ทำให้การเพิ่มขึ้นของรายได้มักจะต้องชดเชยด้วยรายจ่ายจากการลงทุนผลก็คือ กำไรของบริษัทก็อาจจะไม่มโหฬารเมื่อเทียบกับภาคของการสื่อสารที่การลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการให้บริการน่าจะต่ำลงเนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

BEM (บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ) สิ้นปี 62 ปิดที่ 10.90 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 9.55 บาท ลดลง 1.35 บาท หรือ -12.38%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 6.05 บาท ล่าสุด 9.55 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 3.50 บาท หรือ 57.85%

BTS (บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์) สิ้นปี 62 ปิดที่ 13.20 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 11.70 บาท ลดลง 1.50 บาท หรือ -11.36%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 7.90 บาท ล่าสุด 11.70 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 3.80 บาท หรือ 48.10%

AOT (บมจ.ท่าอากาศยานไทย) สิ้นปี 62 ปิดที่ 74.25 บาท (22 พ.ค.63) ปิดที่ 57.25 บาท ลดลง 17.00 บาท หรือ -22.89%

-วันที่ SET 969.08 จุด (13 มี.ค.63) ต่ำสุด 45.75 บาท ล่าสุด 57.25 บาท รีบาวด์ขึ้นมา 11.50 บาท หรือ 25.13%

ทั้งนี้  “ดร.นิเวศน์” เขียนทิ้งท้ายไว้น่าสนใจ ว่า “จะคำนึงถึงความแน่นอนและระยะเวลาของสิ่งที่บริษัทได้จากรัฐ และยังอยากได้บริษัทที่ขายหรือให้บริการในสิ่งที่มีความต้องการเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงต่อเนื่องยาวนาน โดยที่การลงทุนใหม่นั้น บริษัทเพียงแต่ลงทุนในอุปกรณ์หลักแต่ไม่ต้องลงทุนในสถานที่หรืออุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ ที่บริษัทมีอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ต้นทุนต่อหน่วยของการลงทุนจะต่ำลงในขณะที่ราคาขายของบริษัท มักจะยังคงเท่าเดิมตามสัญญาเดิมผลก็คือ บริษัทจะมีกำไรเพิ่มขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณข้อมูล จากคอลัมน์ โลกในมุมมองของ Value Investor ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร…วันนี้ไปละค่ะ บ๊ายย

Facebook Comments
Skip to toolbar